ทีมนักวิจัย 14 คน ด้านโรคติดเชื้อ ภูมิคุ้มกัน คอลลอยด์ ไวรัสวิทยา และไลฟ์ซายนส์ นำโดย Zhou, Y., Gilmore, K., Ramirez, S. ซึ่งทำงานในสถาบันต่างๆ จาก เดนมาร์ก เยอรมนี และฮ่องกง พบว่าสารสกัดหลายชนิดจากโกฐ.จ.ฬ.ล.พ. (artemisia annua) ซึ่งเป็นองค์ประกอบในตำรับยาของไทย มีฤทธิ์ต้าน SARS-CoV-2 ในระดับห้องปฏิบัติการ ในรายงานการวิจัยของพวกเขาที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2021 นี่เอง
นักวิจัยพบว่าสารสกัดจากโกฐจุฬาลัมภาชนิดดังกล่าว อย่างน้อย 3 ชนิด รวมทั้งสารสกัดรวมสามารถต้านการติดเชื้อในระดับห้องปฏิบัติการซึ่งทดลองโดยใช้เซลล์เนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ที่ชักนำให้ติดเชื้อสายพันธุ์เดนมาร์กและเยอรมัน โดยพบว่าสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ (โดยวัดจากช่วงความเข้มข้นที่มีประสิทธิผล 50% หรือ EC50) ดังนี้

artesunate ( 7–12 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร)
artemether (53–98 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร)
สารสกัดจาก A. annua (83– 260 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร)
และ artemisinin (151 ถึงอย่างน้อย 208 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร)
นี่เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของประชาคมวิจัยสมุนไพรระหว่างประเทศ โดยพบว่าสารที่ให้ผลมากที่สุดในการรักษา ไม่ใช่ artemisinin อย่างเดียว แต่คืออนุพันธ์ของ artemisinin และเป็นการเปิดทางให้มีการค้นหาชนิดของพืชในสกุล artemisia อื่นๆ หรือพืชในวงศ์ Asteraceae อื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งไปว่า artemisia annua
ทีมวิจัยกำลังดำเนินการเพื่อทดลองในระดับคลินิกต่อไป
ลิงค์งานวิจัย
https://www.nature.com/articles/s41598-021-93361-y