Batu Özlüşen และคณะ ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) ซึ่งเป็นการรวบรวมผลการศึกษาทั้งหมดเกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงระบบเพื่อหาข้อสรุป โดยได้เผยแพร่บทความเรื่อง Effectiveness of favipiravir in COVID-19: a live systematic review เพื่อทบทวนประสิทธิผลของการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เพื่อรักษาโควิด-19 ใน European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases เมื่อ 4 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
คณะนักวิจัยได้รวบรวมและวิเคราะห์เอกสารการศึกษาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ตั้งแต่เริ่มเกิดการระบาดจนถึง ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 โดยใช้วิธี PRISMA (Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analyses) พบว่ามีงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 2,702 ชิ้น และเจาะลึกวิเคราะห์ผลการทดลองทางคลินิก 12 รายงาน กับผู้ป่วย 1,636 ราย โดยในจำนวนนั้น 9 การศึกษาเป็นการศึกษาแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม

ข้อสรุปของการศึกษาคือ “ไม่มีหลักฐานว่า ฟาวิพิราเวียร์ลดอัตราการเสียชีวิตหรือการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับปานกลางถึงรุนแรง”
ก่อนหน้านี้มีงานศึกษา meta-anallysis ของ Soheil Hassanipour และคณะ เผยแพร่ในวารสาร Scientific Reports เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 สรุปว่า “ยาฟาวิพิราเวียร์อาจไม่เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในแง่การช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง การให้ยานี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการแล้วอาจสายเกินไป”
ประเทศที่ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในปัจจุบันได้แก่ จีน ฮังการี อินเดีย เกาหลี โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย เซอร์ ตุรกี และประเทศไทย
ยาฟาวิพิราเวียร์มีราคานำเข้าประมาณเม็ดละ 120 บาท ส่วนสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีขายทั่วไปในราคาแคปซูลละประมาณ 1 บาท หรือ 0 บาท ถ้าปลูกเอาไว้ใช้เอง
ลิงค์งานวิจัย
- Effectiveness of favipiravir in COVID-19: a live systematic review
https://link.springer.com/article/10.1007/s10096-021-04307-1 - The efficacy and safety of Favipiravir in treatment of COVID-19: a systematic review and meta-analysis of clinical trials
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8155021/