นักวิจัย 3 คณะจาก 3 ทวีป ในประเทศบราซิล สเปน และอินเดีย ยืนยันตรงกันว่า “ขมิ้นชัน” พืชซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma longa Linn. คือหนึ่งในพืชที่มีศักยภาพมากที่สุดในการป้องกันและเยียวยาการระบาดใหญ่ของโรคไวรัสสำคัญ
Bruna A. C. Rattis Simone G. Ramos1 และ Mara R. N. Celes นักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเซาเปาโล และภาควิชาชีววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันโรคเขตร้อน ในประเทศบราซิล เผยแพร่บทความในวารสาร Frontier in Pharmacology เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมาว่า ขมิ้นชันมีคุณสมบัติพร้อมทุกมิติเพื่อต่อกรกับโรคระบาดจากไวรัสร้ายแรงครั้งนี้ เช่น
- curcumin มีศักยภาพในการจับกับ S protein ของตัวรับ ACE2 เป็นการป้องกันไวรัสเข้าสู่ปอด
- ยับยั้งการทำงานของโปรตีนต่างๆซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการถอดรหัสและแพร่กระจายของไวรัสในเซลล์
- ป้องกันการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) การรวมตัวกันของเกล็ดเลือด (antiplatelet)
- ป้องกันการเกิดแผล (cytoprotective) ป้องกันการอักเสบของอวัยวะ (antiinflammatory)
(โปรดดูแผนภาพประกอบ)

นักวิจัยแนะนำให้อย่างน้อยที่สุดควรใช้ curcumin จากขมิ้นเป็นยาเสริมใหม่สำหรับการรักษาการระบาดของไวรัสใหม่นี้
เช่นเดียวกับทีมนักวิจัยจากอินเดียโดย Rajesh K. Thimmulappa และคณะอีก 6 คนจาก ภาควิชาชีวเคมี วิทยาลัยการแพทย์ เทคโนโลยีชีวภาพ ชีวสารสนเทศ และศูนย์เป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยี ในอินเดีย ตีพิมพ์บทความชื่อ Antiviral and immunomodulatory activity of curcumin: A case forprophylactic therapy for XXXXX-19 ที่ยืนยันกลไกของนักวิจัยจากบราซิล และชี้ให้เห็นว่าการใช้ขมิ้นชันนั้นมีความเสี่ยงต่ำมากเนื่องจากเป็นพืชอาหารและเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปีในเอเชีย การทดลองทางคลินิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบ 10 ปีล่าสุด เราสามารถกิน curcumin ได้มากถึง 8 กรัม/วัน โดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพใดๆ
เช่นเดียวกับงานวิจัยในห้องปฏิบัติการล่าสุดโดย Carla Guijarro-Real และคณะจาก Instituto de Conservación และ Mejora de la Agrodiversidad Valenciana, Universitat Politècnica de València เมืองวาเลนเซีย และเพิ่งเผยแพร่ผลการทดลองดังกล่าวเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พวกเขาพบว่าเมื่อได้ทดลองขมิ้นชันเปรียบเทียบกับพืชและสมุนไพรอื่นอีก 14 ชนิดที่มีศักยภาพในการยับยั้งการทำงานของ SARS-CoV-2 3CLPro ปรากฎว่าขมิ้นในรูปสารสกัดรวมที่ไม่ใช่สารเดี่ยวสามารถยับยั้งการทำงานของ 3CLPro (ซึ่งจะมีผลในการยับยั้งการขยายแพร่ไวรัสในเซลล์) ได้สมบูรณ์แบบ ส่งผลให้กิจกรรมโปรตีเอสตกค้าง 0.0% ที่ ค่า IC50 เท่ากับ 15.74 g mL เหนือกว่าสมุนไพรอื่นๆทั้งหมดที่ทำการทดลอง
ล่าสุดบริษัท MGC Pharma บริษัทยาซึ่งดำเนินกิจการในยุโรป สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และอิสราเอล ได้ผ่านการทดลองขออนุญาตทำการทดลองยา CimetrA เพื่อรักษาโควิด และเริ่มกระบวนการวิจัยในเฟส 3 แล้วที่ที่ศูนย์การแพทย์ Rambam ประเทศอิสราเอล โดยผลิตภัณฑ์ที่ดังกล่าวมีขมิ้นชัน โกฐจุฬาลัมพา และกำยาน เป็นองค์ประกอบสำคัญกำลังถูกพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะออกสู่ตลาดภายในปี 2565 ที่จะถึงนี้
อย่าคิดว่ามีเพียงฟ้าทะลายโจร และกระชายเท่านั้น “ขมิ้นชัน” สำคัญกว่าที่หลายคนเข้าใจ