การแสวงหาหนทางออกจากสภาพปัญหาการเกษตรที่เกิดขึ้นได้ทำให้เกิดการก่อตัวของแนวความคิดที่มุ่งแสวงหาทางออกให้แก่สังคมในด้านการเกษตร การแสวงหาทางเลือกใหม่ดังกล่าวได้เริ่มขึ้นก่อนในประเทศพัฒนาแล้ว และเผชิญปัญหาซึ่งเกิดจากการทำเกษตรตามแนวทางนั้น มาค่อนข้างยาวนาน

อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบและตั้งข้อสงสัยต่อระบบการเกษตรแผนใหม่และต่อแนวคิดพื้นฐานเกษตรกรรมแผนใหม่เริ่มขึ้นตั้งแต่ยุคริเริ่มการทำเกษตรแผนใหม่นั่นเอง ที่ชัดเจนก็คือการปฏิเสธแนวคิดการทำเกษตรแผนใหม่ ที่มองระบบการเกษตรของมนุษย์แยกขาดจากองค์รวมทั้งหมดของสังคมและมีฐานความคิดทางปรัชญาที่ว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล มนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติ

บุคคลที่มีบทบาทโดดเด่นในด้านนี้ก็คือ Emst Haeckel

(พ.ศ. 2377-2469) นักชีววิทยาชาวเยอรมันผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชานิเวศวิทยา ใน Generelle Morphologie (พ.ศ. 2409) แฮคเกิลปฏิเสธแนวคิดการแยกร่างกายออกจากจิตใจ ปฏิเสธการแยกธรรมชาติออกจากมนุษย์หรือสังคมมนุษย์ เขาเชื่อว่าโลกมีเพียงหนึ่งเดียวและความจริงก็มีเพียงหนึ่งเดียว สัตว์และมนุษย์มีความเท่าเทียมกัน จริยธรรมของมนุษย์มีพื้นฐานมาจากจริยธรรมของสัตว์หรือธรรมชาติ มนุษย์มิได้เป็นนายและอยู่เหนือสัตว์อื่น แต่มนุษย์กับธรรมชาติมีความใกล้ชิดซึ่งกันและกัน

ความเชื่อของแฮคเกิลที่ว่า มนุษย์และธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นการทำลายสิ่งหนึ่งจึงเท่ากับการทำลายอีกสิ่งหนึ่ง จึงมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อขบวนการเกษตรเชิงนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรเชิงนิเวศที่รู้จักกันในนาม ‘สมาคมดิน’ (Soil Association) หรือ ขบวนการกลับไปสู่ผืนแม่ธรณี(Back-to-the-Land) ที่มีบทบาทการเคลื่อนไหวในทศวรรษที่ 1920 สำหรับบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับขบวนการเกษตรเชิงนิเวศมีอยู่อย่างน้อย 2 คนสำคัญ คือ เซอร์โรเบิร์ต แมคคาริสัน (Sir Robert McCarison) และ เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ด(Sir Albert Howard)

เซอร์ โรเบิร์ต แมคคาริสัน เป็นนายแพทย์ทหารบกชาวอังกฤษในปีพ.ศ. 2444 แมคคาริสันได้เดินทางมาทำมาการวิจัยที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในขณะนั้น โดยเขาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพของชาว ‘ฮันซา’ (Hanza) ซึ่งเป็นซนเผ่าหนึ่งที่อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย(ปัจจุบันคือประเทศปาก็สถาน) จากผลการวิจัย แมคคาริสันได้ข้อสรุปว่าเบื้องหลังสุขภาพที่แข็งแรงปราศจากโรคภัยและมีอายุยืนยาวกว่า 100 ปีของชาฮันซา ก็คืออาหารที่ประกอบด้วยเมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดสี ผัก ผลไม้ นมแพะจากอาหารธรรมชาตินั่นเอง แมคคาสันได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันเรื่องนี้หลายครั้งโดยในปี พ.ศ. 2469 เขาได้ทดลองเปรียบเทียบการหนูที่กินข้าวสาลีที่ใช้ปุยธรรมชาติกับหนูที่กินข้าวสาลีที่ใช้ปุ๋ยเคมี ผลก็คือหนูที่กินข้าวสาลีที่ใช้ปุ๋ยธรรมชาติมีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าประมาณ 15 % งานของแมคคาริสันอาจถือได้ว่าเป็นงานบุกเบิกที่สำคัญ ซึ่งไม่เพียงแต่มีอิทธิพลต่อนักการแพทย์และนักโภชนาการเท่านั้น หากแต่ยังมีผลต่อนักวิทยาศาสตร์การเกษตรอีกด้วย

เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ด (Sir AIbert Howard) นักปฐพีวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของเกษตรกรรมอินทรีย์ เป็นอีกท่านหนึ่งที่มีบทบาทการวางรากฐานให้กับเกษตรเชิงนิเวศ เขาได้วางหลักการสำคัญเกี่ยวกับเกษตรกรรมโดยให้ความสำคัญกับ ‘ดิน’ ว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดและเป็นรากฐานของอารยธรรมทั้งปวง โฮวาร์ดได้กล่าวไว้เมื่อทศวรรษที่ 1930 ในหนังสือชื่อ ‘คัมภีร์เกษตร’ หรือ An Agricultural Testament ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี 2486 ถือได้ว่ามีความสำคัญต่อขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระยะเวลาต่อมา

การค้นคว้าของโฮวาร์ดได้รับการสืบทอดโดย เลดี้ อีฟ บัลโฟร์ (Lady Eve Balfour) และสมาคมดินแห่งอังกฤษ กล่าวคือในปี พ.ศ. 2482 บัลโฟร์ได้ทำการทดลองที่ฟาร์มปฏิบัติการแห่งฮักเล่ (Haughley Experimental Farm)เพื่อพิสูจน์ว่าการปรับปรุงการเกษตรโดยการใส่สารอินทรีย์ลงไปในดิน จะได้ผลตอบแทนดีกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ไม่เพียงแต่นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานการค้นคว้าเกี่ยวกับเกษตรเชิงนิเวศ นักปรัชญาคนสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ก็คือ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ (Rudolf Steiner) สไตเนอร์เป็นแกนนำการเคลื่อนไหวของขบวนการชาวนาที่รู้จักกันในนาม ‘Anthroposophical Farmer’ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในเยอรมันในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ และสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการประชุมของกลุ่มเมื่อปี 2467 สไตเนอร์ได้เรียกร้องให้กลุ่มสนับสนุนการทำฟาร์มแบบยังชีพ (Self-sufficient farms) ซึ่งเป็นระบบการเกษตรที่คำนึงถึง ‘ความมีชีวิตของดิน’ และปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมีในฟาร์ม เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อผืนดิน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อขูดรีดธรรมชาติและเป็นที่มาแห่งความตาย สไตเนอร์ถือว่าผืนธรณีนั้นมีชีวิต ดินเป็นเสมือนตาและหูของโลก ดังนั้นความอุดมสมบูรณ์ (humus) ของดินจำเป็นต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาจากกระบวนการทางธรรมชาติและต้องสร้างสรรค์มาจากสสารที่มีชีวิด (ดูรายละเอียดใน A. Bramwell pp. 195-208) สไตเนอร์เป็นผู้ก่อตั้งขบวนการที่เรียกว่า ‘Biodynamic Agriculture ‘ และแนวคิดของเขา เป็นพลังสำคัญในการผลักดันขบวนการชาวนาในเยอรมันช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปัจจุบันฟาร์มที่ดำเนินการตามแนวคิดของเขาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในยุโรป และสแกนดิเนเวีย

แนวความคิดและวิธีปฏิบัติเพื่อแสวงหาระบบเกษตรกรรมใหม่ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะในโลกตะวันตกเท่านั้น หากแต่ปรากฎขึ้นในประเทศตะวันออกซึ่งเกษตรกรถูกถือว่าเป็นมนุษย์นิเวศ (Eco-man) ด้วย โดยในบรรดานักคิดนักปฏิบัติของตะวันออกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ(Mazanobu Fukuoka) ผู้เป็นทั้งเกษตรกรและนักปรัชญาชาวญี่ปุ่น

ฟูกูโอกะ เรียกระบบเกษตรเชิงนิเวศของตนในชื่อ ‘เกษตรกรรมธรรมชาติ’

เกษตรกรรมตามความเข้าใจของฟูกูโอกะมิได้ “มีเป้าหมายแคบๆและตื้นเขินอย่างที่คนบางจำพวกเข้าใจ หากแต่เป้าหมายที่แท้จริงของการเกษตรกรรมคือการบ่มเพาะความอุดมสมบูรณ์ของมนุษย์’ ในทางปฏิบัตินั้นเกษตรกรรมธรรมชาติดำเนินไปภายใต้หลักปฏิบัติด้านการเกษตรที่สำคัญ 4 ข้อ คือ ‘ไม่ใถ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดแมลง และไม่กำจัดวัชพืช’

ขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระดับสากล

ในขณะที่เกษตรกรรมแผนใหม่มีพื้นฐานทางปรัชญาแบบลดส่วนและอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ระบบเกษตรเชิงนิเวศกลับมีพื้นฐานทางปรัชญาแบบองค์รวม ยึดเอาธรรมชาติเป็นแบบจำลองของระบบการเกษตร

ขบวนการเกษตรเชิงนิเวศจึงประกอบไปด้วยผู้เข้าร่วมจากหลากหลายสาขาทั้งที่เป็นเกษตรกร นักวิชาการเกษตร นักการแพทย์ นักกิจกรรมที่เคลื่อนไหวปัญหาชาวนา นักสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้บริโภค นักปรัชญา ฯลฯ

ปัจจุบันขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระดับสากลประกอบไปด้วยกลุ่มต่างๆ หลายกลุ่ม อาทิเช่น

1) Biodynamic Agriculture

กลุ่ม Biodynamic Agriculture เกิดขึ้นเนื่องจากแนวคิดเกษตรกรรมองค์รวมของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ โดยผ่านการสานต่อแนวคิดโดยนักคิดนักเขียนที่สำคัญอย่างน้อย 2 ท่านคือ Hans Driesch และ Ehrenfried Pfeitferโดยคนหลังได้สะท้อนแนวคิดผ่านงานเขียน 3 ชิ้น คือ Biodynamic Farming and Gardening (2486), The Earth Face and Humanity Destiny (พ.ศ. 2490) และ Biodynamices : Three Introductory Articles (พ.ศ. 2499) อีกคนถัด มาคือ A. Baker ซึ่งมีงานเขียนเล่มสำคัญคือ The Laboring Earth (พ.ศ. 2483)

บทบาทของกลุ่ม เริ่มชัดเจนในทศวรรษที่ 1920 และขยายตัวมากขึ้นในทศวรรษ 1930 เป็นต้นมาโดยเฉพาะในเยอรมันนั้น ขบวนการ Biodynamic ถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญทางสังคมขบวนการหนึ่งที่รัฐให้ความสนใจ

ขบวนการ Biodynamic ยึดหลักการการเกษตรที่สำคัญคือ เกษตรกรรมคือวิถีแห่งชีวิต เกษตรกรต้องมีภาระหน้าที่ต่อผืนแผ่นดินที่ตนครอบครองและมีสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับพืชสัตว์และสิ่งมีชีวิตในฟาร์ม สิ่งเหล่านี้คือที่มาของผลผลิตและคุณภาพของฟาร์ม ระบบเกษตรกรรมต้องสามารถสร้างความสมดุลของระบบนิเวศโดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอก อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้มิได้ปล่อยให้ธรรมชาติเป็นผู้จัดการทุกสิ่ง แต่มนุษย์ต้องทำงานร่วมกับธรรมชาติโดยไม่พยายามแทรกแซงในสิ่งที่ธรรมชาติทำเองได้

กลุ่ม Biodynamic เคลื่อนไหวภายใต้สัญญลักษณ์เทพเจ้า Demeter หรือเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเผยแพร่แนวคิดและรายงานผลปฏิบัติด้านการเกษตรด้วยวารสารชื่อ Demeter ในทศวรรษที่ 1930 นั้น ระบบฟาร์มของกลุ่ม Biodynamic มีลักษณะหลายประการคล้ายกับฟาร์มเกษตรกรรมอินทรีย์ เช่น ไม่ใช้สารเคมี หมุนเวียนของเสียในฟาร์มกลับมาใช้ใหม่ ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์หลายชนิดหมุนเวียนเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ให้ความสำคัญสูงสุดต่อดิน เพราะถือว่าดินเป็นพื้นฐานความอุดมสมบูรณ์ของพืช สัตว์และรวมถึงมนุษย์ที่อาศัยอยู่บนผืนดินนั้น

ลักษณะเฉพาะของกลุ่ม Biodynamic คือการเชื่อในพลังของจักรวาลพลังของพืชสัตว์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล วิธีปฏิบัติที่สะท้อนถึงความเชื่อดังกล่าว เช่น การเพาะปลูกโดยอาศัยความรู้พื้นบ้านยุโรป ในการเลือกเวลาและวันปลูกที่เหมาะสมตามการโคจรของดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ การเติม ‘พลัง’ ให้กับดินโดยการนำพืชจำพวกสมุนพรหลายชนิดมาเตรียมเป็นสารละลายเจือจางแล้วนำไปฉีดพ่นให้กับดิน

ในปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากที่ทำฟาร์มตามแนวคิดของกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยุโรปและสแกนดิเนเวีย แต่ในสหรัฐและแคนาดาค่อนข้างจะมีบทบาทจำกัด (R.R.Harwood. 1990.pp. 71)

2) Humus Farming

Humus Farming เป็นกลุ่มที่แตกแขนงมาจาก กลุ่ม Biodynamic โดยกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญต่อการใช้ฮิวมัสหรืออินทรีย์วัตถุในการบำรุงดินกลุ่มนี้เริ่มมีบทบาทเด่นชัดในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1960 ผู้มีบทบาทสำคัญที่เผยแพร่แนวความคิดและความสำคัญของฮิวมัสในการปรับปรุงดิน เช่น D. Brown , 1. Roberts, s. Fletcher และ S. Waksman ซึ่งทั้ง 4 ท่าน ได้เผยแพร่แนวความคิดและหลักการในทางปฏิบัติผ่านหนังสือ The Field Book of Manures or the American Mulch Book (พ.ศ.2398) The Fertility of theLand (พ.ศ. 2450), Soil :How to Handle and Improve Them (พ.ศ. 2450), และ Humus : Origin Chemical Composition and Importance in Nature(พ.ศ. 2479) ตามลำดับ งานของกลุ่มมิได้มีเพียงการพัฒนาเทคนิคต่างๆ ในการทำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสด และการเปิดแง่มุมต่างๆ ในการศึกษาผลกระทบของปุ๋ยเคมีเท่านั้น หากแต่งานเขียนในเชิงปรัชญาของนักคิดในกลุ่ม โดยเฉพาะงานเขียนของ Friend Sykes 3 เล่มชื่อ Humus and the Farmer (พ.ศ.2486);Food,Farming, and the Future (พ.ศ.2494) และ Modern Humus Farming (พ.ศ.2502) และงานเขียนของ A.Seifest ชื่อ Compost (2495) ได้เป็นแรงผลักดันและเสริมความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ (R.R.Harwood.1991)

3) เกษตรกรรมอินทรีย์ (Organic Farming)

กลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์เกิดไล่เลี่ยและสัมพันธ์กับกลุ่ม Biodynamicโดยเกิดขึ้นก่อนในยุโรป ความแตกต่างระหว่างกลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์กับกลุ่มBiodynamic อยู่ที่กลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์ให้ความสำคัญกับการวิจัยทางการเกษตรค่อนข้างมาก ในขณะที่กลุ่ม Biodynamic ให้ความสนใจทางปรัชญามากกว่า งานเขียนและวิจัยในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาระบบเกษตรกรรมอินทรีย์เช่นในปี 2479 AIwin Seifest ได้นำเสนอผลการวิจัยเกษตรกรรมอินทรีย์ต่อกระทรวงเกษตรเยอรมัน โดยได้ย้ำเนันความสำคัญของการคลุมดิน(Mulching) วิธีการทำเกษตรโดยไม่ไถพรวนขณะเดียวกันก็ปฏิเสธการทำเกษตรกรรมแบบเชิงเดี่ยว (Monoculture) ซึ่งต้องมีการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวในพื้นที่ใหญ่ๆ

ในปี 2486 เซอร์ อัลเบิร์ต โฮวาร์ด ได้พิมพ์ผลงานชิ้นสำคัญชื่อ An Agricultural Testament ซึ่งเป็นงานที่ได้วางหลักการเกษตรกรรมอินทรีย์ที่สำคัญไว้เป็นครั้งแรก

ถัดมาอีก 1 ปี (2487) เลดี้ อีฟ บัลโฟร์ ได้ตีพิมพ์ผลงานที่ชื่อ ‘ ดินที่มีชีวิต’ หรือ The Living Soil โดยได้อธิบายให้เห็นถึงสายใยอันชับซ้อนของการใช้พลังงาน และเส้นสายการสร้างความอุดมที่เชื่อมโยงระหว่างดวงอาทิตย์กับดิน จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับพืชสัตว์และกับมนุษย์ในที่สุด

อย่างไรก็ตาม ขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ในยุโรป จำต้องหยุดชงักเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ปะทุขึ้น และล่วงเลยถึงทศวรรษที่ 1960 ขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์จึงเริ่มมีบทบาททางสังคมอีกครั้ง โดย Soil Association ได้แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการผลักดันให้ผู้คนในขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง

Soil Associationได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการในปี 2488 โดยมีวารสารประจำสมาคมชื่อ Mother Earth และ Journal of the Soil Association สำหรับการเผยแพร่แนวคิดและผลงานที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมอินทรีย์งานหลักของสมาคมน้นการวิจัยผลกระทบสารเคมีต่อมนุษย์ เช่น การจัดพิมพ์งานของ Jorian Jenks ชื่อ We are What We Eat งานชิ้นนี้มีอิทธิพลสูงต่อการศึกษาผลกระทบของยาและสารเคมีต่อมนุษย์ในยุคถัดมา

นอกจากการเผยแพร่หนังสือ แผ่นพับ เอกสารแล้วสมาคมยังทำหน้าที่รวบรวมผู้สนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์ที่แตกกระจัดกระจายอันเป็นผลสืบเนื่องของสงคราม ขณะเดียวกันสมาคมก็เป็นแหล่งพบปะระหว่างเกษตรกรที่ทำเกษตรกรรมอินทรีย์ในอังกฤษ และถือได้ว่าเป็นกลุ่มผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มแรกในอังกฤษด้วย

ประมาณทศวรรษที่ 1960 สมาคมได้ขยายสาขาและแนวคิดการทำเกษตรกรรมอินทรีย์ไปยังฝรั่งเศส โดยในฝรั่งเศส สมาคมได้เผยแพร่แนวคิดโดยผ่านวารสารชื่อ Nature et Progrès ซึ่งเป็นวารสารในลักษณะเดียวกันกับ Demeter ของกลุ่ม Biodynamic Agriculture ของเยอรมัน (ดูรายละเอียดในBramwell.1989.pp.215-219)

ในแคนาดา เกษตรกรรมอินทรีย์เริ่มได้รับความสนใจในช่วงทศวรรษที่1950 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเยี่ยมเยือนของ Ehrenfried Pfeiffer ผู้สนับสนุนคนสำคัญคนหนึ่งของขบวนการ Biodynamic Agriculture และจากการเผยแพร่เอกสาร และสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับเกษตรกรรมอินทรีย์จากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา องค์กรที่สนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์ในแคนาดาองค์กรแรกที่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ ก็คือ Canadian Organic Soil Associationในช่วงเวลาดังกล่าวเกษตรกรรมอินทรีย์ประสบความสำเร็จจากการพิสูจน์ทางการปฏิบัติและเริ่มมีวารสาร และสิ่งดีพิมพ์ของตนเองออกเผยแพร่

ในทศวรรษที่ 1960 ขบวนการเกษตรอินทรีย์ในแคนาดามีความเข้มแข็งมากขึ้นและในทศวรรษที่ 1970 องค์กรเกษตรกรรมอินทรีย์ได้รับการก่อดั้งในเขต 7 จังหวัดของประเทศ และจากปี 2523-2533 ส่วนแบ่งการตลาดสินค้าเกษตรกรรมอินทรีย์เพิ่มขึ้นถึง 66 % (ดูรายละเอียดใน Rod MacRae.1990)

ในประทศญี่ปุ่น เกษตรกรรมอินทรีย์เข้าไปมีบทบาทประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยในปี 2514 นักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์ที่ตระหนักถึงพิษภัยของยาและสารเคมีที่ดกค้างในอาหาร ได้รวมกันก่อตั้งสหกรณ์ Nippon Yukinogyo Kenkyukai เพื่อเป็นเวทีพบปะระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอาหารปลอดสารเคมี และได้มีโอกาสตกลงซื้อขายผลผลิตกัน สหกรณ์ดังกล่าวปัจจุบันมีสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ของประเทศจำนวนประมาณ 1 % ของจำนวนเกษตรกรญี่ปุ่นทั้งหมด

กลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์ในญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่มีการประสานแนวคิดเกษตรกรรมอินทรีย์จากตะวันตก เข้ากับระบบการทำเกษตรดั้งเดิมของญี่ปุ่น (ดูรายละเอียดใน Keishi Amano andTeruo Ichiraku.1988.pp.177-180)

สำหรับในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการผลักดันระบบเกษตรกรรมแผนใหม่ของโลกนั้น เกษตรกรรมอินทรีย์เริ่มเข้ามามีบทบาทภายหลังการตีพิมพ์งานของ J.I. Rodale ซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก โฮวาร์ดชื่อ Play Dirt ในปี 2488 และโรเดลได้มีบทบาทในฐานะศูนย์กลางของการผลักดันเกษตรกรรมอินทรีย์ในอเมริกาอย่างจริงจัง ภายใต้กิจกรรมเกี่ยวกับการจัยและเผยแพร่ของสถาบันโรเดลและสำนักพิมพ์โรเดล

เกษตรกรรมอินทรีย์ในอเมริกาได้เคลื่อนไหวต่อเนื่องมาจนถึงทศวรรษที่ 1960 อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ 1980 โรเดลคนที่สอง Robert Rodale เข้ามามีบทบาท เกษตรกรรมอินทรีย์ของอเมริกาได้รับการเรียกขานอีกอย่างว่าเกษตรกรรมพื้นฟู

4) เกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture)

การเรียกร้องให้มีการทำเกษตรกรรมฟื้นฟู มีมาตั้งแต่ปี 2482 ซึ่งเป็นการเรียกร้องของ E. Kolisko และ L.Kolisko ในหนังสือ Agriculture of Tomorow แต่คำว่าเกษตรกรรมฟื้นฟูในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความสนใจจากสังคมวงกว้างจนกระทั่งถึงปี 1983 Robert Rodale ได้ให้ขอเสนอแนะว่าควรจะเปลี่ยนคำจากเกษตรกรรมอินทรีย์ ที่ J.I. Rodale ผู้เป็นบิดาใช้ในการเคลื่อนไหวเกษตรเชิงนิเวศในอเมริกาช่วงทศวรรษที่ 1960 มาเป็นเกษตรกรรมฟื้นฟู ทั้งนี้เป็นเพราะเขาเห็นว่าเกษตรกรรมอินทรีย์มีความหมายจำกัดไม่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงระบบโครงสร้างทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดย Robert Rodale ได้ให้ความหมายเกษตรกรรมฟื้นฟูไว้ว่า หมายถึงระบบการเกษตรที่มีการเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของดินและฐานทางชีวภาพของดิน ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตและเป็นระบบเกษตรกรรมที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและทางชีวภาพสูงลดระดับการทำลายระบบนิเวศนอกฟาร์ม ปลอดจากการใช้สารที่ทำลายชีวิตทั้งปวงในการผลิตอาหาร รวมทั้งเป็นระบบที่ตอบสนองด้านเศรษฐกิจของประชาชน ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ระบบการเกษตรที่ลดการพึ่งพิงทรัพยากรที่ไม่อาจฟื้นกลับมาใช้ได้อีก (Terry Gips. 1987.pp.7)

จากนิยามดังกล่าว จะเห็นได้ว่า Robert Rodale ได้ก้าวข้ามกรอบจำกัดของเกษตรกรรมอินทรีย์ และสามารถดึงเอาระบบการผลิตที่ลุดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกเข้ามาอยู่ภายใต้การเคลื่อนไหวของขบวนการเกษตรเชิงนิเวศปัจจุบัน

Robert Rodale ยังคงเคลื่อนไหวผลักดันเกษตรกรรมแนวนี้ภายใต้ศูนย์วิจัยโรเดล และสถาบันโรเดล ควบคู่ไปกับขบวนการเกษตรกรรมอินทรีย์ที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา

5) เกษตรกรรมธรรมชาติ (Natural Farming)

เกษตรกรรมธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตรที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากเกษตรกรซาวญี่ปุ่น ชื่อมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ โดยหลักเกณฑ์สำคัญของเกษตรกรรมธรรมชาติได้ถูกถ่ายทอดไว้ในงานเขียนชิ้นสำคัญของเขา 3 เล่มคือ One Straw Revolution : The Road Back to Nature และ The Nature Way of Farming หลักการที่ว่าคือการทำเกษตรกรรมแบบ ‘อกรรม’ (doing nothing farming) ซึ่งหมายถึงการยุติเกษตรกรรมที่แทรกแซงธรรมชาติและเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางอย่างสิ้นเชิง มาเป็นเกษตรกรรมตามแนวทางใหม่ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ

ฟูกูโอกะเสนอให้เราทบทวนวิถีและเป้าหมายของชีวิตซึ่งมองตัวเราเอง และความต้องการของเราเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทั้งปวง เขาเสนอว่าความคิดเช่นนั้นเป็นรากฐานสำคัญของปัญหาเกษตรกรรมที่เป็นอยู่ ดังเช่นการแบ่งแยกแมลงที่มีประโยชน์ออกจากแมลงที่เป็นโทษ แบ่งแยกระหว่างพืชปลูกกับวัชพืช ทั้งนี้เนื่องจากในโลกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างอยู่ร่วมกัน การแบ่งแยกเป็นเรื่องไร้สาระและนำไปสู่ ‘การทำลาย’ สิ่งซึ่งที่มนุษย์ ‘ไม่ต้องการ’ ซึ่งในที่สุดการทำลายดังกล่าวจะส่งผลต่อมนุษย์เองในที่สุด ดังตัวอย่างเช่น การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งในที่สุดได้ทำอันตรายต่อทุกสิ่งรวมทั้งตัวของมนุษย์ด้วย

เกษตรกรรมธรรมชาติ จึงหาได้เป็นเพียงการเกษตรเท่านั้นแต่เป็นวิถีแห่งการบ่มเพาะความสมบูรณ์ของมนุษย์ และการเข้าถึงธรรมชาติ แม้ว่าเขาได้เริ่มทดลองเกษตรกรรมธรรมชาติมานานเกือบ 40 ปี และได้รับความสำเร็จที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง แต่เขากล่าวย้ำว่าระบบเกษตรกรรมที่เขาทำอยู่นั้นยังห่างไกลกับการเกษตรธรรมชาติตามความหมายที่เขาหมายถึงจริงๆ

แนวคิด และวิธีปฏิบัติโดยการไม่กระทำ 4 ประการของฟูกูโอกะ คือการไม่ไถพรวน การไมใส่ปุ๋ย การไม่กำจัดแมลง และการไม่กำจัดวัชพืช เป็นต้นกำเนิดของขบวนการเกษตรกรรมธรรมชาติและได้แพร่ขยายไปหลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียแนวคิดของเขาได้บรรลุผลในทางปฏิบัติ ในหลายประเทศ

6) เกษตรกรรมจุลินทรีย์ของคิวเซ

เกษตรเชิงนิเวศที่กำเนิดในญี่ปุ่น มิได้มีเฉพาะเกษตรกรรมธรรมชาติในรูปแบบของฟูกูโอกะ หรือกลุ่มเกษตรกรรมอินทรีย์เท่านั้น แต่ยังมีเกษตรเชิงนิเวศที่ให้ความสำคัญกับการใช้จุลินทรีย์ในการทำการเกษตรที่เรียกว่าเกษตรกรรมจุลินทรีย์แบบคิวเซ หรือที่พวกเขาเรียกระบบเกษตรกรรมดังกล่าวของตนเอง ‘เกษตรกรรมธรรมชาติแบบคิวเซ (Kyusei Natural Farming)

เกษตรกรรมตามแนวทางนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นจากแนวคิดของ Moishi Okada ผู้ก่อตั้งศาสนาใหม่ที่ซื่อ ‘ Sekai Kyusei Kyo (ศาสนาโลกแห่งโลก)” เมื่อ พ.ศ.2496 โดยมาจากความเชื่อของโอกาะที่ว่า ‘โลกสามารถเปลี่ยนให้เป็นแดนสวรรค์ ได้ด้วยการกำจัดโรคร้าย ความยากจน และความขัดแย้ง’ เกษตรกรรมแบบคิวเซมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเกษตรกรรมรูปแบบอื่น ๆ ตรงที่ให้ความสำคัญกับการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (effective microorga nism : EM) ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยศาสตราจารย์ Higa เป็นตัวการเร่งการปรับปรุงดิน ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ของศาสนาเซไกคิวเซเกียว (รู้จักในนามโยเร ในประเทศไทย) ได้เผยแพร่การเกษตรกรรมตามแนวทางนี้ไปในหลายประเทศ เช่นในประเทศไทย ไต้หวัน บราซิล และในสหรัฐอเมริกา(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน T.Hussain.1992.pp. 113-117)

7) เกษตรกรรมถาวร (Permaculture)

เกษตรกรรมถาวรได้รับการพัฒนาขึ้นในออสเตรเลียเมื่อปี 2521 ผู้ที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ Bil Molison และ David Holmgren แนวคิดเกษตรกรรมถาวรถูกถ่ายทอดผ่านงานเขียนหลายชิ้นคือ Permaculture One :Perennial Agriculture for Human Settlements (พ.ศ.2521), PermacultureTwo : Practical Design for Town and Country in Permanent Agriculture (พ.ศ. 2522) เป็นต้น

เกษตรกรรมถาวรที่ถ่ายทอดงานเขียนข้างต้นหมายถึงระบบเกษตรกรรมที่มุ่งรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นหรือคงอยู่เสมอเป็นระบบการเกษตรที่สนองตอบความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยให้ความสำคัญกับผลผลิตจากห่วงโซ่อาหารต้น ๆ และการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ไม่ว่าจะเป็นของเสียหรือพลังงาน ความแตกต่างระหว่างเกษตรกรรมถาวรกับเกษตรเชิงนิเวศอื่น ๆ คือการเน้นบทบาทของการออกแบบ การวางแผน การวางผัง การจัดการไร่นา ที่อยู่อาศัย และกิจกรรมอื่น ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสนองตอบต่อหลักการที่วางไว้ให้มากที่สุด

ปัจจุบันเกษดรกรรมถาวร ได้รับการนำไปทดลองปฏิบัติทั่วภูมิภาคภูมิอากาศของออสเตรเลีย และได้รับการสนับสนุนจากผู้คนจำนวนนับพันจากทั่วทุกภูมิภาคของโลก โดยมีเครือข่ายการปฏิบัติงานอยู่ในหลายประเทศและมีวารสารเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่มและผู้สนใจทั่วไป ชื่อ The International Permaculture Journal โดยมี Robyn Francis เป็นบรรณาธิการ

ประมาณปลายทศวรรษที่ 1950 การพัฒนาและการแพร่กระจายของเทคโนโลยีสมียใหม่ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีสมัยใหม่ถูกนำมาใช้กับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางรวมทั้งการเกษตร ความเชื่อที่ว่าเทคโนโลยีเป็นยาสารพัดนึกกลายเป็นความหลงผิดที่มีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่ แต่เมื่อเข้าสู่ทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ความคลั่งเทคโนโลยีกลับถูกบั่นทอนเพราะผลของการพัฒนาในรอบทศวรรษก่อนหน้าเริ่มปรากฏ การตระหนักถึงผลกระทบของเทคโนโลยีแผนใหม่ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วไป สารพิษดกค้างในห่วงโซอาหารได้รับการเปิดเผย และวิกฤตการณ์น้ำมันในต้นทศวรรษที่ 1970 ทำให้มนุษย์ต้องตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีอยู่อย่างจำกัด

วิกฤตการณ์จากการพัฒนาในทศวรรษดังกล่าว อาจสังเกตได้จากผลสะท้อนที่เกิดขึ้นภายหลังจากหนังสือชื่อ ‘ฤดูใบไม้ผลิอันเงียบเหงา (Silent Spring)’ ของ ราเชล คาร์สัน นักเขียนสารคดีวิทยาศาสตร์ซาวอเมริกัน ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบที่น่าสะพึงกลัวของสารเคมีปราบศัตรูพืชได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ปี 2505 ในครั้งนั้นปัญหาการใช้สารเคมีการเกษตรได้ถูกยกขึ้นถกเถียงกันอย่างหนักทั่วอเมริกาและยุโรป ประธานาธิบดีเคเนดี้ ถึงกับให้ที่ปรึกษาของเขาทำรายงานประเมินผลกระทบของหนังสือดังกล่าวที่มีต่อสาธรณชน(หนังสือนี้แปลเป็นภาษาไทยแล้วเมื่อปี 2517 ภายใต้ชื่อ ‘เงามฤตยู” ) และความตื่นตัวของสาธารณชนต่อปัญหาผลกระทบของการเกษตรสมัยใหม่ซึ่งเริ่มต้นขณะนั้นได้ทำให้แนวทางเกษตรกรรมที่เป็นทางเลือกใหม่ได้รับความสนใจมากขึ้น

แม้เกษตรกรรมแบบเคมี จะยังคงเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรของโลกปัจจุบัน แต่แนวโน้มของเกษตรกรรมเช่นนี้กำลังเสื่อมโทรมลงทุกวัน กล่าวคือปัจจุบันเกษตรเชิงนิเวศได้กลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกทีจากชุมชนต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของโลก


หมายเหตุ

  • นิเวศเกษตร เปลี่ยนคำ “เกษตรกรรมทางเลือก” ในบทความเป็น “เกษตรกรรมเชิงนิเวศ” เพื่อให้เข้ากับบริบทยุคปัจจุบัน
  • บทความเรื่อง “ประวัติศาสตร์ของขบวนการเกษตรกรรมเชิงนิเวศ” เป็นส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “พัฒนาการเกษตรกรรมทางเลือก” เขียนโดยนักวิชาการหนุ่ม Thirawuth Senakham ระหว่างทำงานร่วมกับ RRAFA (ชมรมศิษย์เก่าบูรณะชนบท) เมื่อปี 2535 (ปัจจุบัน ผศ.ดร.ฐิรวุฒิ เสนาคำ เป็นอาจารย์สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์) ซึ่งแม้ผ่านพ้นมานานกว่า 30 ปี แต่ก็ให้ภาพเกี่ยวกับขบวนการเกษตรเชิงนิเวศในระดับสากลได้อย่างชัดเจน จึงนำมาลงเผยแพร่อีกครั้งเพื่อประโยชน์ต่อผู้สนใจเกี่ยวกับแนวความคิดและขบวนการเกษตรกรรม