เห็ดโคนหรือเห็ดปลวก เกิดขึ้นโดยอิงอาศัยกับปลวกบนพื้นฐานความสัมพันธ์ที่พึ่งพิงกันและกัน โดยปลวกอาศัยอาหารและน้ำตาลที่เกิดจากการย่อยสลายเศษไม้และใบไม้จากเชื้อเห็ดรา ในขณะที่เห็ดก็ได้อาศัยสารที่ปลวกขับถ่ายเพื่อเป็นอาหารในการเจริญเติบโตดังที่นิเวศเกษตรได้กล่าวถึงในโพสต์ที่แล้ว

งานศึกษาและเรียบเรียงโดย ลีลา กญิกนันท์ และ อภิชัย หมู่ก้อน จากสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดของปลวกและเห็ดโคน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนหรือการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เห็ดโคนที่ต้องการอย่างน่าสนใจ

โดยการศึกษาและเก็บตัวอย่างและข้อมูลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง และกรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2546-2551 พบความสัมพันธ์ของชนิดปลวกกับเห็ดโคน ทั้งนี้โดยพบว่าปลวกชนิดหนึ่งอาจสามารถเพาะเห็ดโคนได้หลายชนิด เช่น ปลวก Macrotermes gilvus สามารถชักนำให้เกิดเห็ดโคนได้หลายชนิด เช่น Termitomyces globulus Termitomyces aurantiacus หรือTermitomyces clypeatus เป็นต้น

ในขณะที่ปลวกต่างชนิดกันสามารถชักนำให้เกิดเห็ดโคนชนิดเดียวกันก็ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างปลวกชนิดใดเพาะเห็ดโคนชนิดใดได้บ้าง ตามแผนภาพ

แม้ว่าการเพาะเลี้ยงเห็ดโคนดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่ความรู้เบื้องต้นเท่าที่มีในปัจจุบัน ก็พอที่จะทำให้เราสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเห็ดโคนได้แล้ว