จากรายงานวิจัยของศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่าประชากรไทยจะลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งใน 60 ปีข้างหน้า ทำให้ไบโอไทยลองหาข้อมูลเปรียบเทียบเร็วๆ จาก Wikipedia

เห็นข้อมูลแล้วน่าตกใจว่า อัตราภาวะเจริญพันธุ์ (จำนวนบุตรเฉลี่ยต่อผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 15-49) ของเด็กไทยต่ำสุดๆ คือเพียง 1-1.16 คนต่อผู้หญิง 1 คนเท่านั้น ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆอยู่ที่ 1.7-2 คน โดยนักประชากรศาสตร์ระบุว่า สัดส่วนที่เหมาะสมและทำให้ประชากรอยู่ในระดับสมดุลคือ 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คน

ประชากรที่ลดลง ที่เห็นได้ชัดเจนแล้วตอนนี้คือ สัดส่วนของเด็กตั้งแต่อายุ 0-14 ของไทย ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นในอาเซียนอย่างน่าใจหาย คืออยู่ที่ 16.9% ของประชากรเท่านั้น ในขณะที่เพื่อนบ้านที่มีจีดีพีต่อหัวสูงกว่าไทยอย่างมาเลเซีย หรือต่ำกว่าอย่าง อินโดนีเซีย และเวียดนาม ต่างมีสัดส่วนอยู่ที่ 22.5-24%

โดยแนวทางรับมือประชากรหดตัว จากงานศึกษาของทีมนักวิชาการศศินทร์ โดยเกื้อ วงศ์บุญสิน และคณะ ระบุว่า รัฐควรสนับสนุนด้านเงินในการเลี้ยงดูลูก เพราะภาระทางเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่คนปัจจุบันตัดสินใจไม่มีลูก การเพิ่มระยะเวลาลาคลอดและดูแลลูกโดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงที่จะถูกไล่ออก พร้อมลดภาระเล่าเรียนหนังสือ ก็อาจช่วยกระตุ้นให้ประชาชนต้องการมีลูกมากขึ้นได้

นอกจากนี้ การใช้เวลาร่วมกับครอบครัวมากขึ้น ยังช่วยเพิ่มโอกาสมีลูกมากขึ้นได้ โดย Erin Hye Won Kim ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประชากรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Seoul เกาหลีใต้มองว่า ผู้หญิงในปัจจุบันมีเวลาว่างน้อยกว่าผู้ชาย เพราะใช้เวลาไปกับการทำงานบ้านที่ไม่ได้รับค่าจ้าง
อาจเป็นกราฟิกรูป แผนที่ และ ข้อความ
ขณะเดียวกัน คิมค้นพบว่า อัตราการเกิดจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ชายช่วยงานที่บ้านมากขึ้น โดยเธอศึกษาพบว่า เมื่อสามีทำงานบ้านมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มโอกาสการมีลูกคนที่ 2 มากขึ้น

อ้างอิง: เกื้อ วงศ์บุญสิน, ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส, ภัทเรก ศรโชติ, พัชราวลัย วงศ์บุญสิน, เรียวรุ้ง ภักดี และภาสวิชญ์ เลิศวิไลรัตน

ที่มา