สถานการณ์อาหารในอาหารโรงเรียนในปัจจุบันนั้น เลี่ยงไม่ได้กับคำถามถึงคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ทั้งจากภาพข่าวที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่มาจากการบริหารงาน, สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงไปและความรู้ของผู้ประกอบอาหาร ทำให้เราสามารถพบเห็นปัญหานี้ได้อย่างมากมายในสื่อ ข่าวทางโซเชียล เกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวัน เช่น ขนมจีนคลุกน้ำปลา, หรือกับข้าวที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เพียงเล็กน้อย หรือในเรื่องของงบประมาณ 20 บาทต่อหัว ที่ไม่เพียงพอต่อการมีคุณภาพอาหารที่ดีและปลอดภัย รวมทั้งผู้บริหารและครูถูกตั้งข้อหาบริหารเงินไม่โปร่งใส มีการยักยอกเงินจากค่าอาหารกลางวันมาเป็นเงินในกระเป๋าตัวเองหรือไม่  หรือในกรณีของอาหารกลางวันของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่า นักเรียนจะได้รับสารอาหารครบถ้วนหรือไม่ เพราะเมื่ออาหารถูกตักให้นักเรียน กับข้าวในชามส่วนใหญ่มีแต่ฟัก และแทบไม่มีเนื้อสัตว์อยู่เลย ทำให้ผู้ปกครองหลายคนเลือกที่จะต้มไข่กับข้าวเหนียวห่อมาให้ลูกรับประทานเสริมหลังทานอาหารของโรงเรียนแทน (ดังภาพแสดงรูปแบบอาหารกลางวันที่มีข่าวในปัจจุบัน)

จากกรณีข่าวในปี 2561 กรณีโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน หลังมีข่าวบางโรงเรียนจัดอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดคุณค่าทางโภชนาการให้กับนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีหนังสือ แจ้งไปยังศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน โดยมอบหมายให้ศึกษานิเทศก์ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเรื่องอาหารกลางวันของโรงเรียนในจังหวัด โดยร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยึดประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลักสำหรับแนวทางการตรวจติดตาม คือให้จัดตั้งศูนย์คุ้มครองโภชนาการของนักเรียน พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจติดตามการดำเนินการอาหารกลางวันของโรงเรียน โดยให้ศึกษาธิการจังหวัด ประสานการตรวจติดตาม กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และส่วนราชการในจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น และนำเสนอคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเป็นวาระเร่งด่วน เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันในระยะยาว ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ทางกระทรวงพยายามที่จะหาทางแก้ไข แต่อาจจะเป็นการแก้ไขในเกือบที่จะเป็นปลายทางของระบบการจัดการอาหารกลางวันในเรียนแล้ว


(ที่มา: PPTV Online, 2561) https://www.pptvhd36.com

2019_article_foodplan09