1) รายงานผลการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอา กาศต่อภาคเกษตร– Crop Model Concepts and Assumptions ที่นำมาใช้ศึกษาไม่ได้นำตัวแปร ด้านสังคมเข้ามาศึกษา มีเพียงแค่ตัวแปรด้านเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะเป็นการศึกษาที่มุ่งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเพื่อตอบโจทย์ เป้าหมายการเจริญเติบโตทางเศราฐกิจ (Economic Growth Target)
ข้อคิดเห็นจากที่ประชุม
– มีการเสนอให้นำประเด็นด้านสังคมและวัฒนธรรมเข้ามาเป็นตัวแปร ใน Model นี้ด้วย (นักวิจัยกล่าวว่าที่ไม่ทำเพราะมุ่งเน้นในเรื่องของ การผลิต อีกทั้งตัว Model ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถนำตัวแปรด้านสังคม หรือวัฒนธรรมมาร่วมศึกษาด้วย)
– มีการเสนอให้ปรับปรุงพันธุ์เพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง สภาพอากาศ
2) แนวทางการปรับตัว (Adaptation) นโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการ
– แนวทางการปรับตัวของพืชทั้ง 5 ชนิด ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และปาล์มน้ำมัน มีด้วยกัน 4 แนวทาง คือ 1) แนวทางการผลิตแบบที่เป็นอยู่ (business as usual) 2) แนวทางที่เป็นการผลิตพืชอาหาร (food bowl) 3) แนวทางที่เป็นการผลิตพืชอาหาร (biofuel) และ 4) แนวทางตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ระบบเกษตรกรรมแบบผสมผสาน (intergrated farming) และการจัดการระบบนิเวศน์
– ข้าว แนวทางในการปรับตัวของข้าว กรณีนาชลประทาน จะต้องปรับเมล็ดพันธุ์ข้าวให้มีคุณสมบัติอายุเบา อัตราการเจริญเติบโตสูง ส่วนการเขตกรรมก็ต้องเตรียมสำรองน้ำเพิ่มขึ้น ในบางพื้นที่ ใช้น้ำอย่างประหยัดในฤดูนาปรัง สำหรับการจัดการธาตุอาหารนั้นก็ต้องจัดธาตุอาหารแบบผสมผสานทั้งปุ๋ย เคมีและอินทรีย์ โดยเฉพาะการจัดฟาง ปรับช่วงเวลาการใส่ปุ๋ย
– จากการศึกษาประมาณการณ์ว่าผลกระทบของสภาวะโลกร้อนต่อการ ผลิตข้าวของประเทศไทยปี 1980-2059 นั้นจะทำให้ศักยภาพการผลิตลดลงร้อย ละ 14.2 และนาชลประทานจะผลิตได้ลดลงร้อยละ 8.6 ในปี 2059 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 1980 โดยพื้นที่นาชลประทานที่ได้รับผลกระทบมาก จะเป็น จ.เพรชบูรณ์ นครนายก เพชรบุรี ชัยนาท และนครสวรรค์ ขณะที่นาน้ำฝนไม่ได้ รับผลกระทบ (ต่อมาที่ประชุมท้วงติงถึงความถูกต้องของข้อมูลชุดนี้ ทางผู้วิจัยจึงจะกลับไปศึกษาใหม่ในส่วนนี้)
– มันสำปะหลัง สถานการณ์ด้านการตลาด แม้ประเทศไทยจะผลิตมันสำปะหลังเป็นอันดับ 3 ของโลก (ร้อยละ 10 ของผลผลิตโลก) รองจากไนจีเรียและบราซิล แต่ก็เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดของ โลก โดยมีคู่แข่งสำคัญคืออินโดนีเซียและเวียดนาม ส่วนระบบการผลิตนั้นพบว่าผู้ผลิตมันสำปะหลังมีทั้งเกษตรกรรายย่อย กลาง และฟาร์มขนาดใหญ่ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายย่อย รวมถึงมีลานตาก โรงงานแป้ง กระจายในทุกแหล่งปลูก – ด้านนโยบายการผลิตมันสำปะหลังจะยังคงพื้นที่การผลิตไว้ที่ 7 ล้านไร่เท่าเดิม ทั้งนี้ถ้าปี 2557 ตั้งเป้าให้ได้ผลผลิต 38 ล้านตันจะต้องผลิตให้ได้ 5.43 ตัน/ไร่ กระโดดจากปี 2551 ที่ผลิตได้เพียง 3.64 ตัน/ไร่ และการศึกษายังประมาณการณ์ผลกระทบในอนาคตเป็นช่วงเวลา ด้วย โดยแบ่งเป็นผลกระทบระยะยาว 120 ปี และผลกระทบระยะปานกลาง 30 ปี
– อ้อยโรงงาน การกระจายตัวของฝุ่นและความสามารถ ในการอุ้มน้ำของดินเป็นสาเหตุของการเกิดพื้นที่วิกฤต ส่วนแนวทางแก้ไขจะต้องพัฒนาระบบชลประทานพร้อมกับปรับปรุงบำรุงดิน ให้เก็บกักน้ำได้มากขึ้น
– ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการจำลองข้าวโพดสุวรรณ 1 ทั้งประเทศภายใต้สภาวะโลกร้อนในปี 1980-2009 พบว่าผลผลิตลดลงร้อยละ 15 และมีความแปรปรวนของผลผลิตรายปีที่ร้อยละ 41 โดยพื้นที่วิกฤตของข้าวโพด จะกระจายตัวอยู่ทุกภูมิภาค
– ส่วนการปรับตัวภายใต้สภาวะโลกร้อนพบว่าพันธุ์ได้รับผลกระทบเพียง เล็กน้อย ที่สำคัญพื้นที่ปลูกข้าวโพดจะลดลงต่อเนื่องระหว่างปี 2000-2029 จาก 1,406,036 ไร่ เหลือแค่ 1,048,274 ไร่ แต่ผลผลิตที่ได้กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีฐาน 2553 คือระหว่างปี 2010-2019 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 และระหว่างปี 2020-2029 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 โดยแนวทางการปรับตัวจะต้องใช้พันธุ์ทนแล้งและน้ำ ท่วมขัง ขณะที่ในพื้นที่วิกฤตที่มีอยู่ประมาณร้อยละ 10-13 ของพื้นที่ทั้งหมดก็ต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิต
ข้อคิดเห็นจากที่ประชุม
– มีข้อโต้แย้งในกระบวนการจัดทำแผนแม่บท (Master plan) อันเนื่องมาจากมีความวิตกกังวลว่าถ้านำผลการศึกษาวิจัยที่มีไม่ มากนักและไม่ได้ศึกษาเชิงลึกมากพอมาใช้ในการร่างแผนแม่บทจะเกิดผล กระทบมากมาย โดยเฉพาะในส่วนของ Scenario ที่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มี Scenario เดียว ไม่มี Scenario อื่นๆ ให้เลือกในฐานะทางเลือก (Alternative) ซึ่งโดยข้อเท็จจริงของการศึกษาครั้งนี้ก็มีความเสี่ยงอย่างมาก เพราะหาก Assumptions ที่ตั้งขึ้นมามีความผิดพลาด ก็จะทำให้ตอบโจทย์ผิด นอกเหนือไปจากนั้นก็คือข้อจำกัดของการศึกษาที่ใช้ตัวอย่างจำนวน น้อยทั้งในเรื่องของพันธุ์และระบบนิเวศ (ecosystem) เช่น กรณีข้าวก็ใช้แค่พันธุ์สุพรรณบุรี 1 และขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน เพื่อศึกษาหาแนวทางการปรับตัว อันจะทำให้การจัดทำนโยบายเรื่องการปรับตัว (Adaptaion) ของข้าวในระดับประเทศทำไม่ได้
– กรณีปาล์มน้ำมัน แนวทางการปรับตัวคือเสนอให้ไปปลูกที่ภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ถึงแม้ว่าพื้นที่นั้นจะมีความแห้งแล้ง แต่ก็มีปาล์มน้ำมันบางสายพันธุ์ปลูกได้ดี รวมถึงเสนอให้ใช้แหล่งน้ำที่เดียวกับข้าวคือใช้น้ำในไร่นา
3) รายงานการวัดมีเทนในนาข้าว (เบื้องต้น)
– ข้อเสนอของการศึกษาคือการทำนาแบบน้ำเข้าน้ำออก คือช่วงขณะที่ข้าวเติบโตระดับหนึ่งก็นำน้ำเข้านา แต่เมื่อข้าวโตขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก็ให้นำน้ำออกจากนา สลับกันไป เพราะการระบายน้ำออกจากนาในบางช่วงไม่เพียงจะลดปริมาณการปล่อย ก๊าซมีเทนโดยตรง แต่ยังช่วยให้การปล่อยก๊าซค่อนข้างคงที่ แทนที่จะทำนาแบบนาน้ำขังดังเดิมของไทยที่จะเกิดมีเทนสูงตลอดเวลา เป็น Sceanrio เดียวที่มีในการศึกษาครั้งนี้
– การนำเสนอผลการศึกษาได้ยกตัวอย่างการปลูกข้าวที่ประหยัดน้ำแบบ หนึ่ง คือ The System of Rice Intensification: SRI
– การศึกษาปริมาณการปลดปล่อยมีเทนจากนาที่ปลูกข้าวหลายสายพันธุ์ ทั้ง กข 15 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 90 และชัยนาท 1 พบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนขึ้นอยู่กับพันธุ์ ความสูงของต้นข้าวและปริมาณชีวมวลของต้นข้าว รวมถึงพันธุ์ข้าวที่มีการปรับปรุงพันธุ์ให้มีท่อในต้นข้าวสำหรับ นำก๊าซมีเทนสู่อากาศให้มีขนาดเหมาะสมจะลดการปล่อยก๊าซได้
– ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือต้องศึกษาเชิงลึกมากขึ้นทั้งความสัมพันธ์ ในแต่ละด้านและทั้งระบบ โดยประยุกต์เทคโนโลยีและการจัดการ ที่สำคัญจะต้องนำ “ชุดเทคโนโลยี” ที่อยู่ในฐานะต้นแบบที่ได้จากการ ศึกษาครั้งนี้มาสร้างการยอมรับจากเกษตรกรเพื่อให้พวกเขานำไปใช้ เช่น ระบบน้ำเข้าน้ำออกในนา ผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับชาว บ้านเกษตรกร
ข้อคิดเห็นจากที่ประชุม
– มีข้อเสนอให้ศึกษาข้าวแบบองค์รวมมากขึ้น โดยเฉพาะมีเทนที่เกิดจากการปลูกข้าว เพราะข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษา ครั้งนี้เป็นของต่างประเทศจำนวนมาก ขณะที่เป็นการศึกษาโดยคนไทยน้อย ทั้งนี้การศึกษาการเกิดมีเทนในนาข้าวในประเทศไทยมีมานานมากแล้ว สัก 10 ปีโดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น
– มีข้อโต้แย้งเรื่องการทำนาแบบน้ำเข้าน้ำออกด้วยประเด็นด้าน Cost benefit และวิถีชีวิตเกษรกรที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่รวมถึงระบบชลประทานที่เข้าไม่ถึงทุกพื้นที่ อีกทั้งยังตอบโต้การให้เหตุผลของการศึกษาที่บอกว่าการทำนาน้ำขัง มีดีแค่กำจัดวัชพืช ด้วยการชี้ให้เห็นถึงภูมิปัญญาของเกษตรกรไทย ที่ใช้น้ำขังเพื่อปรับค่า ph ในดิน การจะส่งเสริมให้เกษตรกรทำนาลักษณะ นี้จึงไม่อาจตอบโจทย์ของประเทศไทยภายใต้สภาวะโลกร้อนได้ ไม่เท่านั้นในภาพรวมแล้วก็อาจไม่ได้ลดก๊าซมีเทนได้อย่างมีนัย สำคัญจริงๆ
– การปรับตัวด้านพันธุ์คือการเพิ่มความต้านแล้ง ต้านโรค ต้านแมลงเข้าไป โดยระหว่างนี้ได้มีการศึกษาวิจัยพันธุ์พืชแบบนี้จน เกือบเสร็จสิ้นที่เกษตรกรสามารถนำไปปลูกได้แล้ว โดยเป็นความร่วมมือหลายสถาบัน เช่น สวทช.กับกรมการข้าว และที่สำคัญจากเคยใช้เวลากว่า 7 ปีในการพัฒนาพันธุ์ แต่ปัจจุบันเหลือแค่ 3 ปีก็สามารถทำได้แล้ว
– การศึกษาต้องสร้าง Sceanrio หลากหลายรูปแบบเพื่อชี้ให้เห็นถึง ข้อดี-ด้อย ไม่ใช่มีแค่ Scenario เดียวที่ปิดกั้นการเลือกของประเทศไทย ในฐานะที่ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การร่างแผน ระดับชาติ
– เสนอให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนเคมีเพื่อลดมีเทน
– เสนอให้ปรับปรุงพันธุ์โดยการสร้างเสริมความหลากหลายทางชีวภาพผ่านพันธุ์ ท้องถิ่น