พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกสายพันธ์โดยตรง แทนที่วิธีการตามธรรมชาติซึ่งใช้เวลานาน โดยการค้นหายีนตัวใหม่ ที่กำหนดลักษณะเฉพาะ(Traits)ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจเป็นยีนจากพืช สัตว์ หรือแบคทีเรียก็ได้ ซึ่งวิธีค้นหานั้นมีรายละเอียดอีกมาก จากนั้นทำการถ่ายแบบ (copy) ยีนดังกล่าว ลงไปใน โครโมโซม ซึ่งมีจำนวน 2 n และอยู่ในรูป double herix ของเซลล์พืชเพียงเซลล์เดียว
การถ่ายทอดยีนที่ถูกถ่ายแบบมาลงไปใน DNA ซึ่งอยู่ในโครโมโซมของเวลล์ใหม่นั้น ต้องอาศัยตัวช่วย 2 ตัว คือ 35S – promotor และ NOS . terminator ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดให้เริ่มต้น และยุติการถ่ายแบบ ซึ่งทั้ง 35S-promotor และ NOS . terminator นั้น เป็นสารพันธุกรรมอย่างหนี่ง (genetic elements) ที่จะคงอยู่ในเซลล์ใหม่ และเพิ่มจำนวนตามจำนวนเซลล์ใหม่ที่เพิ่มขึ้น นอกจากสารพันธุกรรม ทั้ง 2 ตัวดังกล่าวแล้ว ยังมียีนหรือหน่วยพันธุกรรมอีกตัวหนึ่ง ที่จำเป็นจะต้องใส่เข้าไปด้วยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม (genetical modification) เรียกว่า “marker gene”
Marker Gene เป็นยีนที่ทำให้สิ่งมีชีวิตใหม่นั้น มีความต้านทานต่อ herbicide insect และ antibiotic ได้ เพราะ เซลล์ใหม่เพียงเซลล์เดียวที่ได้นั้น จะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปในอาหารที่มีสาร antibiotic เพื่อฆ่าเชื้อ bacteria และสาร herbicide ที่ติดมากับอาหารได้ อีกทั้งต้องการ ให้มีความต้านทานต่อแมลง และยาฆ่าวัชพืช (marker gene แบ่งออกได้เป็นหลายชนิด) ทั้ง 3 ตัวนี้ จึงมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมาก
ที่มา: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค