เราเครือข่ายเกษตรกรและพี่น้องเพื่อนมิตรที่เกี่ยวข้องขอประกาศว่า
ทรัพยากรพันธุกรรมทั้งหลายคือมรดกที่ชุมชนท้องถิ่นและเกษตรกรชาวนา ชาวไร่ รุ่นแล้วรุ่นเล่าได้อนุรักษ์ พัฒนา และใช้ประโยชน์สืบทอดร่วมกันมานานนับพันนับหมื่นปีบนผืนแผ่นดินแห่งนี้
การแลกเปลี่ยนพันธุกรรมโดยเสรี ระหว่างเกษตรกร และการเก็บรักษาพันธุ์เพื่อนำไปเพาะปลูกต่อ คือมูลเหตุแห่งความงอกงามและความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งเป็นหลักประกันสำหรับความมั่นคงทางอาหารและความอยู่รอดของเกษตรกร และประชาชนทั้งมวล
สิทธิของเกษตรกร และชุมชนท้องถิ่นต่อพันธุกรรมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บทบัญญัติใดของความตกลงระหว่างประเทศ รัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในใดๆจะก้าวล่วงมิได้
เราทั้งหลายตระหนักชัดว่า
ทรัพยากรพันธุกรรมทั้งหลายกำลังเสื่อมโทรม และสูญสลายไปอย่างรวดเร็ว อันมีสาเหตุหลักมาจาก การมุ่งใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเพื่อแสวงหากำไรสูงสุด โดยเฉพาะยิ่งผลจากการส่งเสริมให้ใช้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์สายพันธุ์ใหม่จากบรรษัทข้ามชาติ และรัฐบาลของเราเอง
พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของระบบเกษตรกรรมและความมั่นคงและอธิปไตยทางอาหารขณะนี้ถูกครอบครองและผูกขาดโดยบรรษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ในประเทศ
กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา และเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดการผูกขาดทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเบ็ดเสร็จโดยบรรษัทข้ามชาติ และบรรษัทยักษ์ใหญ่การเกษตรภายในประเทศ โดยการสนับสนุนของสถาบันและหน่วยงานรัฐของเรา
เครือข่ายเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่น และเพื่อนมิตรทั้งหลายขอประกาศว่า เราจะผนึกกำลังกันอย่างเข้มแข็งเพื่อสร้างอิสรภาพทางพันธุกรรมให้ปลอดพ้นจากการผูกขาดและครอบครองโดยบรรษัททั้งหลายในทุกรูปแบบ เราจะร่วมมือกับพี่น้องที่ต่อสู้เพื่อการปฏิรูปที่ดินและการจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม ฟื้นฟูศักดิ์ศรีเกษตรกร สร้างความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมระหว่างประชาชน สมานฉันท์กับประชาชนในทุกประเทศที่ต่อต้านการผูกขาดระบบเกษตรและอาหาร เพื่อความอยู่รอดของเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่น และเพื่อชีวิตที่ดีของประชาชนทั้งมวล
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2554
ณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โดยเครือข่ายอิสรภาพทางพันธุกรรม
โครงการฮักแพง เบิงแญง คนสารคาม ชุดประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืน
มูลนิธิฮักเมืองน่าน
เครือข่ายเกษตรทางเลือก ขอนแก่นใต้-โคราชเหนือ
เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคเหนือ
เครือข่ายองค์กรชาวบ้านป่าดงลาน
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
เครือข่ายเกษตรทางเลือกยโสธร
สวนลุงโชค จ.นครราชสีมา
ชมรมรักษ์ธรรมชาติ
เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคเหนือ (เชียงราย, แพร่,น่าน, แม่ฮ่องสอน)
กลุ่มเกษตรอินทรีย์ตำบลสร้างมิ่ง
กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมพิษณุโลก / Seed exchange
เครือข่ายเกษตรทางเลือก กาฬสินธุ์-นครพนม
เครือข่ายเกษตรทางเลือก ภาคอิสาน
สมาพันธุ์เกษตรอินทรีย์สุรินทร์
มูลนิธิการจัดการความรู้ และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา นครสวรรค์
เครือข่ายเกษตรทางเลือกทุ่งกุลา
มูลนิธิข้าวขวัญ
สมาคมคนทาม (เขื่อนราศี)
เครือข่ายพวกกัน (ภาคกลาง-ภาคตะวันตก)
สมาคมอีสานวิถี อำเภอเสลภูมิ
เครือข่ายเกษตรทางเลือกภาคใต้
ชุมชนบุญนิยมร้อยเอ็ดอโศก
เครือข่ายเกษตรทางเลือกฉะเชิงเทรา
กลุ่มพัฒนาอาชีพเพื่อทางเลือก บ้านดงดิบ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด
สถาบันชุมชนเกษตรกรรมธรรมชาติ สุรินทร์
อีสานมั่นยืน (กลุ่มอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านอุบล)
สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน ISAC
กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
โครงการสวนผักคนเมือง
สมาคมเครือข่ายเกษตรกรไทย
กลุ่มพันธุกรรม จ.อุทัยธานี
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
เครือข่ายเกษตรทางเลือก ประเทศไทย
ศูนย์เรียนรู้โจ้โก้ จังหวัดน่าน
มูลนิธิชีววิถี
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)