ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอกรณีคำชี้แจงของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ![]() | ||
กรณีการดำเนินการตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 | ||
คำชี้แจงของบีโอไอ | ความคิดเห็นและข้อเท็จจริง | ข้อเสนอเชิงกระบวนการ |
1.1 กรมสนธิสัญญายืนยันว่ารายการข้อสงวนภายใต้ความตกลง ACIA เป็นหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา | 2.1 เห็นด้วยกับการตีความของกรมสนธิสัญญา | 3.1 ขอหนังสือยืนยันจากกรมสนธิสัญญาและคำอธิบายเพิ่มเติมโดยละเอียด |
1.2 การเจรจาข้อสงวนดังกล่าวไม่ต้องเสนอกรอบต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา เพราะรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบความตกลงไปแล้ว และรายการข้อสงวนดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง ไม่มีการเจรจาและไม่มีการลงนาม | 2.2 รัฐสภาเห็นชอบความตกลง ACIA ในส่วนตัวบท ตารางข้อสงวนเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงและมีความสำคัญมาก (ดังคำอธิบาย 2.1) ขณะนี้ยังคงมีการเจรจาและยังเจรจาไม่แล้วเสร็จ (การไม่เจรจา เพื่อให้ข้อผูกพันที่ลงนามไว้ในปี 2541 ต้องเปิดเสรีภายในปี 2553 เป็นท่าทีเฉพาะหน่วยราชการไทยเท่านั้น) ถ้าหากไม่มีการเจรจาจริงตามที่แจ้ง ความตกลง ACIA คงมีผลโดยสมบูรณ์ไปแล้ว และคงไม่มีการประชุมของ CCI เกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ประการใด | 3.2 รัฐบาลควรดำเนินการดังนี้ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาหรือศาลรัฐธรรมนูญตีความเพิ่มเติมเพราะมีหลายครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความขัดแย้งกับความเห็นของกรมสนธิสัญญา เช่น กรณีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และ กรณีเขาพระวิหารควรเรียกเอกสารสรุปการประชุมของ CCI จากฝ่ายเลขานุการของ CCI หรือสำนักเลขาธิการอาเซียนมาประกอบว่าความเป็นจริงเป็นเช่นไร |
กรณีหน่วยงานราชการในกระทรวงเกษตรฯคัดค้านการเปิดเสรีการลงทุน | ||
คำชี้แจงของบีโอไอและกรมเจรจาฯ | ข้อโต้แย้ง | ข้อเสนอเชิงกระบวนกา |
1.3 ได้มีการจัดประชุมหารือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องไปแล้ว 6 ครั้ง ส่งหนังสือไปสอบถามและสอบถามเพิ่มเติมทางโทรศัพท์ และไม่ปรากฏว่ามีผู้คัดค้า | 2.3 บีโอไอและกรมเจรจาตั้งธงว่าจะมีการเปิดเสรีสถานเดียวไม่มีทางเลือกอื่น- หน่วยงานราชการที่คัดค้านถูกชักจูงให้ยอมรับการเปิดเสรีโดยอ้างว่าต้องทำตามพันธกรณีโดยเราไม่สามารถเจรจาเพื่อขอสงวนได้- กรมประมงได้แจ้งให้ทราบว่าได้คัดค้านและเสนอให้มีการศึกษาอย่างรอบคอบก่อนแต่ถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ | 3.3 ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยราชการที่คัดค้านให้หน่วยงานราชการที่คัดค้าน ชี้แจงว่าทำไมถึงไม่ได้คัดค้านการเปิดเสรีก่อนการประชุมของกนศ.เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2552ขอข้อมูลผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นของกรมประมง และหนังสือของกรมประมงที่แจ้งต่อบีโอไอและกรมเจรจาขอข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมการข้าว เพิ่มเติม |
การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน | ||
คำชี้แจงของบีโอไอ | ข้อโต้แย้ง | ข้อเสนอเชิงกระบวนการ |
1.4 บีโอไอได้ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซท์ หนังสือพิมพ์ สถานีวิทยุ จัดบรรยาย รวมทั้งจัดการประชุมให้ประชาชนหลายภาคส่วนมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดทำข้อสงวนแล้ว | 2.4 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่ครอบคลุมผู้เข้าร่วมประชุมมิได้รับรู้สาระที่สำคัญและจำเป็นต่อการพิจารณาการจัดทำข้อสงวน เช่น การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปิดเสรี การเปรียบเทียบตารางข้อสงวนของประเทศอื่นๆภายใต้ AIA เป็นต้นมิได้เชิญกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเข้ารับฟังอย่างทั่วถึงผู้ที่มีโอกาสพูดบนเวที มีเฉพาะผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการลงทุนเท่านั้น | 3.4 ขอเอกสารและหลักฐานว่าได้มีการดำเนินการปรึกษาหารือและได้รับข้อมูลที่เพียงพอหรือไม่ เช่นเอกสารประกอบการประชุมที่จัดขึ้นโดยบีโอไอ รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม รายชื่อวิทยากรที่พูดบนเวที เอกสารสรุปการประชุม หรือเทปบันทึกเสียงและภาพระหว่างการประชุมรับฟังความคิดเห็นขอรายชื่อของ NGO ภาคเอกชน และภาควิชาการที่อ้างว่ามีการจัดประชุมชี้แจงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 หลังจากได้รับทราบท่าทีของกนศ.ว่าครอบคลุมเพียงใด |
แม้มีการเปิดเสรี แต่ต่างชาติต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเงื่อนไขที่ไทยกำหนด | ||
คำชี้แจงของบีโอไอ | ข้อโต้แย้ง | ข้อเสนอเชิงกระบวนการ |
1.5 ในกรณีการปลูกป่า ต่างชาติไม่สามารถถือครองที่ดินได้ ตามพ.ร.บ.ที่ดิน ไม่สามารถทำไม้ได้เพราะกฎหมายไทยไม่อนุญาตต่างชาติครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์ | 2.5 นักลงทุนต่างชาติจะสามารถปลูกป่าและทำไม้ได้ โดย ใช้วิธีเช่าพื้นที่ซึ่งไม่มีกฎหมายไทยห้ามเอาไว้ การเช่าพื้นที่สามารถทำได้ทั้งที่เป็นการเช่าที่เอกชน และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมของรัฐพ.ร.บ. เลื่อยโซ่ยนต์ขัดขวางการลงทุน เมื่อต่างชาติได้รับอนุญาตให้ปลูกป่าแล้ว อุปสรรคที่ห้ามบริษัทต่างชาติมิให้ใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกไม่อาจทำได้กฎหมาย ไทยที่ช่องว่างมากอยู่แล้วการเปิดเสรีจะยิ่งทำให้ต่างชาติเข้ามาครอบครอง ทรัพยากรได้โดยง่ายยิ่งขึ้น เช่น ในกรณีการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นจะใช้วิธีจัดตั้งบริษัท โดยให้คนไทยถือหุ้นใหญ่แต่ใช้ช่องว่างตามกฎหมายให้ผู้ถือหุ้นคนไทยเป็นหุ้น ด้อยสิทธิ์ที่ไม่สามารถออกเสียงและไม่ได้รับการปันผล | 3.5 รัฐบาลควรจัดประชุม เพื่อให้มีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม โดยหน่วยงานวิจัยและนักวิชาการที่ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์จากการ เจรจา |
1.6 ในกรณีการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่สาธารณะต้องเป็นผู้ประกอบการไทยเท่านั้น | 2.6 รัฐบาลต้องให้สิทธิต่างชาติตามหลักปฏิบัติเยี่ยงคนชาติหากเปิดเสรี | 3.6 ขอความเห็นเพิ่มเติมจากนักกฎหมายที่เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ และการรวบรวมกรณีการฟ้องร้องรัฐของนักลงทุนภายใต้บทบัญญัติการคุ้มครองนักลงทุนของ FTA ต่างๆ เช่น NAFTA เป็นต้น |
1.7 รัฐบาลยังสามารถออกมาตรการอื่นใดอีกก็ได้เพื่อห้ามประกอบอาชีพสงวนของคนไทย ห้ามต่างชาติลงทุนในพันธุ์พืชหรือสัตว์สงวนของไทย | 2.7 การทำความตกลงเปิดเสรีแบบ negative list ต้องสงวนเอาไว้ใน รายการ sensitive list เท่านั้นจึงจะมีผลสงวน และจะต้องมีการสงวนก่อนความตกลงมีผลบังคับใช้ มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดความตกลง | 3.7 รัฐบาลไทยควรดูการจัดทำตารางข้อสงวนใน sensitive list ของ อินโดนีเซีย ซึ่งจะเห็นว่ามีการสงวนอาชีพเกษตร อาชีพที่มีผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น และทรัพยากรชีวภาพ (genetic resources หรือ biodiversity) ไว้อย่างรอบคอบ |
1.8 ไทยมี พ.ร.บ.พันธุ์พืชปี 2518 ที่ห้ามส่งออกพันธุ์พืชสงวนออกนอกประเทศ ในกรณีที่ต่างประเทศมาลงทุนเพาะและขยายพันธุ์พืช | 2.8 พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวห้ามส่งออกพันธ์พืชเพียง 11 ชนิด ดังนั้นจึงไม่ครอบคลุมพันธุ์พืชส่วนใหญ่ของประเทศ นอกจากนี้ต่างชาติยังจะ สามารถตั้งหน่วยเพาะและขยายพันธุ์พืชเพื่อเข้าถึง(access) และนำไปสู่การวิจัยจดสิทธิบัตร ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยได้โดยง่าย | 3.8 ควรจัดทำการศึกษาอย่างรอบคอบเพราะมีช่องโหว่ของกฎหมายฉบับอื่นอีก เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ซึ่งกำลังถูกผลักดันโดยบริษัทเมล็ดพันธุ์ให้มีการแก้ไขเกี่ยวกับการเข้าถึง และแบ่งปันผลประโยชน์ เป็นต้น |
1.9 บีโอไออ้างว่าที่ผ่านมาได้ส่งเสริมการลงทุนให้กับบรรษัทข้ามชาติไปแล้วเป็นจำนวนมาก เช่น มอนซานโต้ และไบเออร์ เป็นต้น | 2.9 คำโต้แย้งของบีโอไอฟังไม่ขึ้น เนื่องจากการส่งเสริมการลงทุนนั้นอยู่ในการวินิจฉัยเป็นคราวๆของฝ่ายบริหาร และอาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้ตามความเหมาะสมและตามสถานการณ์ การส่งเสริมของบีโอไอในบางกรณีนั้นทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น การส่งเสริมการลงทุนให้บรรษัทไบเออร์ครอปไซส์ ขัดกับนโยบายของกรมการข้าวที่ไม่ส่งเสริมพันธุ์ข้าวลูกผสม ทำให้เกิดการผูกขาด และจะสร้างปัญหาเรื่องคุณภาพของข้าวไทยในระยะยาว | 2.9 ควรประเมินการลงทุนของบีโอไอที่ผ่านมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่เกี่ยวกับ การเกษตรและทรัพยากรว่าได้ผลตามเจตนารมย์ของการส่งเสริมการลงทุนหรือทำให้ เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อเกษตรกรและประเทศชาติอย่างไร |
ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง และข้อเสนอกรณีคำชี้แจง ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
11 พฤศจิกายน 2009 3 mins read
View
View

