1. ความเป็นมา

  • วันที่ 2 กรกฏาคม 1994 บริษัทไรซ์เทค แห่งเมืองอัลวิน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยื่นจดสิทธิบัตรข้าวบัสมาติ
  • วันที่ 2 กันยายน 1997 บริษัทดังกล่าวได้รับสิทธิบัตรในข้าวบัสมาติตามรายละเอียดหนังสือสิทธิบัตรอเมริกา หมายเลข 5663484  สิทธิบัตรนี้ครอบคลุม สายพันธุ์ที่ปรับปรุงใหม่ ( novel rice lines) ต้นพืช (plants) และเมล็ดข้าว (grains) รวมทั้ง กระบวนการผสมพันธุ์ข้าวดังกล่าว (a method for breeding these lines) และเทคนิคในการแบ่งคุณสมบัติของแป้งและคุณสมบัติในการหุงต้ม (a novel means for determining the cooking and starch properties of rice grains)

2. การตอบโต้ของอินเดีย

  • 15 กุมภาพันธ์ 1998 กระทรวงพาณิชย์ของอินเดียประกาศยื่นเรื่องต่อสำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกาให้ถอนสิทธิบัตรดังกล่าวของไรซ์เทค
  • 5 มีนาคม 1998 Research Foundation for Science, Technology and Ecology  ยื่นคำร้องต่อศาลสูงอินเดียให้เพื่อให้รัฐบาลอินเดียต่อสู้เรื่องนี้ทั้งในศาลของสหรัฐและยื่นคำร้องต่อองค์การค้าโลก และให้นำข้อตกลงเกี่ยวกับสิทธิของชุมชนท้องถิ่นในอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพเข้ามาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา
  • 3 เมษายน 1998 ชาวนาอินเดียและองค์กรอื่นอีก 17 องค์กรเดินขบวนในนิวเดลฮีเพื่อประท้วงบริษัทไรซ์เทค รัฐบาลสหรัฐ และเรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังยิ่งขึ้น

3. ขนาดของตลาดข้าวบัสมาติ

อินเดียส่งออกข้าวบัสมาติ 400,000 – 500,000 ตันต่อปี ข้าวบัสมาติส่วนใหญ่ส่งออกไปขายในประเทศตะวันออกกลาง และยุโรป เพียง 10 % เท่านั้นที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา

4. อินเดียทำอะไรไปบ้างแล้วเกี่ยวกับการปกป้องข้าวบัสมาติ

  • รัฐบาลกรีซปฏิเสธการจดชื่อการค้า (trademark ) ข้าวบัสมาติ 3 ชื่อ คือ TEXMATI, KASMATI, JASMATI ที่ยื่นโดยไรซ์เทค เนื่องจากแรงกดดันของรัฐบาลอินเดีย
  • ที่อังกฤษ รัฐบาลอังกฤษร่วมกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวอินเดีย(All Indian Rice Exporters Assoc)เจรจายอมความกับไรซ์เทค โดยไรซ์เทคยินยอมที่จะไม่ใช่ชื่อบัสมาติในคำโฆษณาและผลิตภัณฑ์ใดๆของบริษัทในอีก 5 ปีข้างหน้า และอินเดียยอมที่จะชดใช้ค่าใช้จ่ายในศาลและชดเชยค่าเพคเกจจิ้งซึ่งไรซ์เทคเตรียมไว้สำหรับการทำตลาดในอังกฤษ

5. ข้าวหอมมะลิของไทยเกี่ยวข้องอะไรกับบริษัทไรซ์เทคและการจดสิทธิบัตรพันธุ์ข้าว

  • ขณะนี้ไรซ์เทคขายข้าวที่มีชื่อการค้าว่า JASMATI โดยอ้างว่าเป็นข้าวหอมมะลิเมืองไทยที่ปลูกในเท็กซัส ( “the Texas-grown copy of Jasmine rice from Thailand” )
  • จิม สไตรกี้ (Jim Strikey) นักปรับปรุงพันธุ์ของบริษัทอ้างว่าข้าว JASMATI ไม่ได้ใช้พันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยมาผสม ฐานพันธุกรรมของข้าวพันธุ์นี้มาจากพันธุ์  Della  ซึ่งพัฒนามาจากข้าวพื้นเมืองที่ชื่อ Delitus ของอิตาลีอีกทอดหนึ่ง ทั้งยังกล่าวหาว่าข้าวหอมมะลิและข้าวพันธุ์อื่นๆของไทยขโมยพันธุกรรมมาจากมาดากัสการ์
  • ขณะนี้ไรซ์เทคกำลังปรับปรุงข้าวหอมมะลิของไทยเช่นเดียวกันเนื่องจากความต้องการข้าวหอมมะลิของไทยมีสูงมากในอเมริกาและตลาดในเอเชีย เมื่อปีที่แล้ว (1997) ประเทศไทยส่งออกข้าวหอมมะลิประมาณ 250,000 ตันไปยังสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ความต้องการข้าวหอมมะลิจากประเทศจีนนั้นอาจสูงถึง 5 ล้านตันต่อปี
  • ไรซ์เทคกำลังร่วมมือกับ Hunan Hybrid Rice Research Center ในประเทศจีนเพื่อผลิตพันธุ์ข้าวลูกผสมสำหรับขาย และปลูกในจีนและประเทศอื่นๆ
  • จีนได้ติดต่อขอเช่าพื้นที่และลงทุนการผลิตข้าวหอมมะลิในประเทศไทย และขณะนี้กำลังดำเนินโครงการนำร่องอยูที่ภาคอีสาน
นักปรับปรุงพันธุ์ข้าว จาก มูลนิธิข้าวขวัญ

6. ข้าวหอมมะลิในฐานะเป็นฐานพันธุกรรมสำคัญของการปรับปรุงพันธุ์ข้าวจากทั่วโลก

  • ไทยส่งข้าวหอมมะลิไปยังสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ(IRRI)เมื่อปี 1961 จนถึงขณะนี้ข้าวหอมมะลิได้ถูกใช้ผสมเป็นพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ในสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติถึง 1480 สายพันธุ์  นอกเหนือจากนี้ยังได้ส่งพันธุ์ข้าวหอมมะลิไปใช้สำหรับการผสมพันธุ์ในประเทศต่างๆถึง 22 ประเทศ
  • นักวิจัยที่ IRRI ได้ใช้ข้าวพันธุ์นี้ผสมกับข้าว IR 262 ได้พันธุ์ที่เรียกว่า Jasmine 85 หรือ IR841-85-1-1-3  เมื่อปี 1966
  • Jasmine 85 ได้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 1989 ทั้งนี้เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิจากประเทศไทย