ประวัติและความเป็นมาของมูลนิธิชีววิทยาชาติพันธุ์ และ บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด

มูลนิธิชีววิทยาชาติพันธุ์ได้ถูกจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลในปี 2531 โดย ดร.คอนราด โกรินสกี้ เป็นประธานมูลนิธิ ต่อมาในปี 2534 ดร. บรูซ ดาโควสกี้ ได้มาเป็น ผู้อำนวยการมูลนิธิ

มูลนิธิฯมีนโยบายเกี่ยวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการแบ่งปันผลกำไรทางการค้า ซึ่งมูลนิธิฯมีบริการช่วยเหลือจัดเก็บข้อมูล และคุ้มครองการจดทะเบียนสิทธิบัตรทางวัฒนธรรมให้แก่ทุกคน ที่ได้นำความรู้มาร่วมในการศึกษาทางชีววิทยา โดยมีบริษัท ฮัตตัน โมเลคูลาร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ซึ่งมูลนิธิฯเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว) ทำหน้าที่ดำเนินงานเสมือนโบรกเกอร์ที่เกี่ยวพันกับการทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยจะแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเสมอภาค ที่ผ่านมา มูลนิธิฯเคยได้รับมอบหมายจากมูลนิธิบอดี้ช้อบให้ทำการวิจัยตามข้อตกลงอย่างยุติธรรม ระหว่างกลุ่มคนพื้นเมืองและองค์กรที่รับผิดชอบเช่น สถาบัน, หน่วยงานทางการศึกษา, เอ็นจีโอ
,บริษัทพาณิชย์ และกลุ่มสถาบันทางการศึกษา ของเวเนซุเอลา ขอให้ทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลประโยชน์ทางการพาณิชย์หลายสมาคมด้วยกัน และด้วยจุดประสงค์ที่จะเชื่อมโยงความรู้ทางด้านชีววิทยาชาติพันธุ์ในภูมิภาคต่างๆ มูลนิธิฯจึงได้รับเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ชีววิทยาฯในกรุงเทพฯ

ส่วนนโยบายของมูลนิธิฯเกี่ยวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องผลกำไรทางการค้าจะมีการแบ่งสันกัน เพราะความรู้ทางชีววิทยาชาติพันธุ์จะต้องได้รับความคุ้มครองจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อจะให้ทุกคนที่มีส่วนในการค้นพบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเข้าสู่ตลาดได้รับผลประโยชน์ ซึ่งมูลนิธิฯมีบริการช่วยเหลือจัดเก็บข้อมูล และคุ้มครองการจดทะเบียนสิทธิบัตรทางวัฒนธรรมให้แก่ทุกคนที่ได้นำความรู้มาร่วมในการศึกษาทางชีววิทยาฯ ในรูปของ
บริษัทฮัตตัน โมเลคูลาร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

ในปี 2537 บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด ได้ให้การสนับสนุนแก่โครงการปลูกป่าบนดอยสุเทพ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากตรงนี้เองในปี 2538 ทางบริษัทฯจึงมีความคิดริเริ่ม ที่จะทำโครงการต่อไป คือโครงการวิจัยเรื่อง “ริชมอนเด้การริเริ่มชีววิทยาชาติพันธุ์ในประเทศไทย” จัดเตรียมโดย ดร.บรูซ ดาโควสกี (ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิทยาชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ)

รายละเอียดของโครงการวิจัยเรื่อง “ริชมอนเด้การริเริ่มชีววิทยาชาติพันธุ์ในประเทศไทย”

วัตถุประสงค์

  • เป็นโครงการสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในปีแรก เพื่อรักษาความรู้ดั้งเดิมสำหรับชาวกระเหรี่ยงและชาวไทย
  • มีจุดประสงค์เพื่อเก็บบันทึกตัวยาสมุนไพรพื้นบ้านแผนโบราณที่ใช้ในกลุ่มชนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงทางภาคเหนือของไทย โดยมีเงื่อนไขว่า
    – ครุภัณฑ์ทุกชิ้นจะต้องบริจาคให้กับภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อโครงการสิ้นสุดลง ยกเว้นรถไครสเลอร์ซึ่งจะต้องส่งคืนให้บริษัท
    – ตัวอย่างสมุนไพรทุกชิ้นจะต้องมาจัดทำจนเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ และจัดเก็บไว้ที่หอพรรณไม้ของภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    – ข้อมูลต่างๆที่เก็บในสนามจะต้องนำมาป้อนในคอมพิวเตอร์ที่ภาควิชาฯซึ่งบริจาคโดยบริษัท โดยข้อมูลเหล่านี้จะทำสำเนาลงในแผ่นบันทึกข้อมูลมีดร.สตีเฟ่นเป็นผู้ควบคุม และเปิดบริการให้แก่บุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นชาติใด ที่สนใจศึกษาหาความเป็นไปได้ในการเลือกสมุนไพรที่จะนำไปวิเคราะห์ หรือพัฒนาเป็นตัวยาต่อไป
  • ระยะเวลาการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 เฟสคือ เฟสที่ 1 ระหว่างเดือนเมษายน – เดือนธันวาคม 2538
    และเฟสที่ 2 คือ ระหว่างเดือนมกราคม 2539 – เดือนธันวาคม 2541
  • การมีส่วนร่วมของชุมชน/ชาวบ้าน
    ชาวบ้านที่ถูกสัมภาษณ์จะได้รับค่าตอบแทนวันละ 100 บาท และต้องลงนามในสัญญาที่
    มีเนื้อหาดังต่อไปนี้
    ถึงผู้อาวุโส และชนชาวปาเกอญอ หมู่บ้าน……………อำเภอ…………………จังหวัด………………………

    เราทำงานวิชาการด้านที่เรียกว่าชีววิทยาชาติพันธุ์(Ethnonobiology)งานเร่งด่วนนี้
    มีเป้าหมายที่การบันทึก พัฒนา และปกป้องภูมิปัญญาทางด้านสิ่งแวดล้อมของชนเผ่าพื้นเมืองและ
    ชาวชนบททั่วโลก การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นทั่วโลกทุกวันนี้
    ทำให้ตำรับตำราที่เกี่ยวกับเรื่องราวของโลกธรรมชาติสูญหายไปทุกขณะ
    จากการที่เราได้พบปะพูดคุยกัน ท่านก็ได้รับทราบแล้วว่าเรากำลังเริ่มต้นทำงานวิจัยใน
    ประเทศไทย โดยการทำการศึกษาพืชสมุนไพร และยาแผนโบราณ(Medicinal plants
    and herbal remeies)จากพวกท่านชาวปาเกอญอ เรามีความประสงค์ที่จะทำงานใน
    หมู่บ้านของท่าน โดยอาศัยการสนับสนุนจากหมอยาพื้นบ้านที่ยังคงทำนาโดยน้ำฝน ร่วมกับการทำ
    ไร่หมุนเวียน ตลอดจนอยู่ใกล้ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์
    งานวิจัยของเราได้รับการสนับสนุนด้านการเงินการทำงานสนามในปีแรกจากบริษัท ริ
    ชมอนเด้(บางกอก) จำกัด(ประเทศไทย) โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนต่ออีก 2
    ปี หากผลการศึกษาที่ได้รับมีค่าควรแก่การกลับมาศึกษาเพิ่มเติม ผู้อำนวยการโครงการคือ ดร.บรูซ
    ดาโควสกี จากมูลนิธิชีววิทยาชาติพันธุ์ประเทศอังกฤษ ในฐานะผู้จัดการโครงการผมจะเป็นผู้ที่
    ติดต่อกับพวกท่าน ฉะนั้นขอให้ท่านสบายใจที่จะพูดคุยกับผมถึงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น
    ตลอดจนเรื่องที่ท่านวิตกกังวล
    การลงนามในสัญญาฉบับนี้แสดงว่าท่านตกลงใจที่จะอนุญาตให้เราทำงานกับชาวบ้านของ
    ท่านบนแผ่นดินของท่าน และได้รับสิทธิในการศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทั้งที่
    เป็นความรู้ทั่วไป และความรู้ของผู้ที่ชำนาญพิเศษในวัฒนธรรมของท่าน
    เราขอสัญญาที่จะปกป้องความรู้ของท่านอย่างเต็มความสามารถ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้
    ทำงานวิจัยเรื่องสำคัญนี้ในหมู่บ้านของท่าน

    โดยจะเป็นการลงลายมือชื่อระหว่างผู้นำชุมชนนั้น และนายอเล็กซานเดอร์ จอห์น ไน
    ดรอฟ ผู้จัดการโครงการ ที่ตั้งโครงการ คือ เลขที่ 78 หมู่ 10 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    50200
  • งบประมาณ&ที่มาของงบประมาณ
    งบประมาณที่ใช้ตลอด 3 ปี ได้จาก บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด
    โดยในปีแรก 91,400 ปอนด์ หรือ 4,021,600 บาท
  • รายละเอียดการทำงาน
    • จะรวบรวมข้อมูลจากห้องสมุดที่กรุงเทพและเชียงใหม่ก่อน
    • เก็บข้อมูลจริงในพื้นที่วิจัยคือ ชุมชนชาวกระเหรี่ยงเผ่าสะกาจำนวน 5 หมู่บ้านๆละ 30คน รวม 150 คน (ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน, ผู้ประกอบพิธีกรรม, หมอยาพื้นบ้าน)ซึ่งต้องเป็นหมู่บ้านห่างไกลจากพื้นที่ชนบทที่ได้รับการพัฒนาแล้ว, ปราศจากแรงอิทธิพลภายนอก, มีสภาพแวดล้อมเป็นป่า ฯลฯ โดยพืชที่ใช้ผลิตยาจะถูกถ่ายภาพในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและถ่ายแยกภาพเดี่ยว ก่อนที่จะนำส่งไปเก็บในหอพรรณไม้ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อไป (ข้อมูลทั้งหมดจะจัดเก็บโดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้คำแนะนำของ ดร.สตีเฟ่น อีเลียด และ ดร.เจมส์ แม็กส์เวล)
  • เมื่อโครงการมีอายุครบ 3 ปี ก็จะจัดพิมพ์หนังสือบันทึกไว้ใน 3 ภาษาคือ
    ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

รายชื่อหน่วยงาน/บุคคลที่ให้ความร่วมมือกับในโครงการนี้คือ

  • มูลนิธิชีววิทยาชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
  • สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
  • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงวิทยาศาสตร์
  • สถาบันสมิตโซเนียน วอชิงตัน
  • หน่วยงานการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
  • องค์การวัฒนธรรม สังคมและการศึกษา แห่งสหประชาชาติ
  • ศูนย์พัฒนาวิจันนานาชาติ (IDRC)
  • 8.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 9.สถาบันวิจัยชาวเขา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 10.หน่วยชีววิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รายชื่อหน่วยงาน/บุคคลในประเทศไทยที่ไม่เห็นด้วยกับการศึกษารวบรวมข้อมูลดังกล่าว

  • โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง
  • มูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน ภาคเหนือ (นอร์ทเนท)
  • กลุ่มกรีนเนท
  • ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อสังคม
  • โลกดุลยภาพ
  • คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)

ประเด็นที่น่าสนใจในกรณีริชมอนเด้ฯ

1.ทำไมต้องเลือกศึกษาในพื้นที่ของชาวกระเหรี่ยง?

เพราะว่ากะเหรี่ยงเป็นกลุ่มที่ไม่มีวัฒนธรรมอื่นมาปะปน การศึกษาข้อมูลเรื่องโรคภัยจะจบในนั้น ไม่มีการส่งคนไข้ไปที่อื่น ซึ่งเป็นเรื่องของการหาตัวยาใหม่ ไม่ใช่การรวบข้อมูลธรรมดา

2.โครงการดังกล่าวไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาวิจัยแห่งชาติ

ดร.ทัชเดช (ประธานบริษัท ริชมอนเด้(บางกอก) จำกัด) ยอมรับว่าโครงการฯดังกล่าวไม่ได้อยู่ในความดูแลของสภาวิจัยแห่งชาติเนื่องจากต้องการความสะดวกและรวดเร็ว เพราะว่าโดยระเบียบว่าด้วยการอนุญาตให้นักวิจัยชาวต่างประเทศทำการวิจัยในประเทศไทยปี 2525 ของสภา วิจัยแห่งชาติระบุไว้ว่าต้องมีขั้นตอนดังนี้

  • 1.ต้องร่วมงานกับนักวิชาการไทย
  • ก่อนเดินทางเข้ามาทำวิจัยกำหนดการล่วงหน้า 3 เดือน
  • สภาวิจัยฯจะร่วมพิจารณาโครงการที่ชาวต่างชาติเสนอกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น กรมป่าไม้ เป็นต้น
  • ระหว่างทำการวิจัยต้องรายงานความก้าวหน้าทุก 6 เดือน
  • ต้องมีการส่งผลการวิจัยที่สมบูรณ์ 3 ชุดให้แก่สภาวิจัยฯ, สำนักหอสมุดแห่งชาติ,และฝ่ายนักวิจัยชาวต่างชาติ

3.มีการแอบอ้างชื่อบุคคลในองค์กรพัฒนาเอกชนไทยว่าเป็นที่ปรึกษาของโครงการฯ
เช่น คุณรสนา โตสิตระกูล จากโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง, มูลนิธินอทเนท ฯลฯ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดีให้แก่โครงการฯ

4.บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เอกสารที่บันทึกข้อมูลของโครงการฯโดยอัตโนมัติ

5.ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองและปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่น ในกรณีของริชมอนเด้นั้นถึงแม้ว่าโครงการดังกล่าวไม่ได้กระทำโดยผ่านสภาวิจัยแห่งชาติ แต่ก็ไม่มีบทลงโทษ

6.เนื่องจากโครงการฯดังกล่าวถูกคัดค้านโดยองค์กรพัฒนาเอกชน จึงทำให้โครงการฯดังกล่าวต้องถูกระงับการสนับสนุนจาก บริษัท ริชมอนเด้ (บางกอก) จำกัด

แนวทางป้องกันในอนาคต

  • ควรมีองค์กรกลางที่เป็นตัวแทนของรัฐบาล โดยเปิดกว้างให้แก่คนทุกอาชีพในการศึกษาวิจัยค้นคว้า
  • จะต้องสร้างองค์กรชุมชนเพื่อต่อรองผลประโยชน์และสิทธิในภูมิปัญญาไทย โดยมีการเจรจาและเซ็นสัญญากันอย่างเปิดเผย มีสื่อมวลชนช่วยตรวจสอบในฐานะคนกลาง
  • งานวิจัยทุกชิ้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือสภาวิจัยแห่งชาติ ควรเผยแพร่สู่สาธารณะ
  • ควรมีกฎหมายคุ้มครองสิทธิภูมิปัญญาท้องถิ่นและผลประโยชน์ของชุมชน
  • รัฐบาลควรมีกองทุนวิจัยสนับสนุนด้านพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น